รายละเอียดหนังสือ
รหัสสินค้า: 9789749900390
จำนวน: 366 หน้า
ขนาดรูปเล่ม: 152 x 228 x 17 มม.
น้ำหนัก: 480 กรัม
เนื้อในพิมพ์: ขาวดำ 
ชนิดปก: ปกอ่อน 
ชนิดกระดาษ: กระดาษปอนด์ 
หน่วย: เล่ม 
สำนักพิมพ์: ธรรมศาสตร์, สนพ. ม. 
เดือนปีที่พิมพ์: 8 / 2551
:: คำนำ
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ตระหนักถึงความสำคัญของโครงการวิจัยชุด การจัดการ "ความจริง" ในสังคมไทย โดยให้ทุนสนับสนุนวิจัยนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 จนถึงปี พ.ศ. 2544 โครงการวิจัยย่อยทั้งหกโครงการเสร็จสิ้นลงด้วยความอุตสาหะของนักวิจัยแต่ละท่าน ทำให้ผลงานวิจัยชุดนี้ร่ำรวยไปด้วยมุมมองที่ลึกซึ้ง แหลมคม ที่สำคัญคืออาจกล่าวได้ว่าโครงการวิจัยนี้เป็นการริเริ่มลงหลักปักฐานอย่างจริงจังของการศึกษาวิจัยกระบวนการจัดการ "ความจริง" ในสังคมไทย ถือเป็นโอกาสอันดีที่โครงการจัดพิมพ์คบไฟเล็งเห็นคุณประโยชน์ในการจัดพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยชุดนี้สู่สาธารณชน โดยเฉพาะในเวลาที่ผู้คนอาจต้องการปัญญาในการมองเห็น "การจัดการ 'ความจริง'" ยิ่งกว่าที่ผ่านมา
:: เนื้อหาโดยสังเขป
การจัดการ "ความจริง" ในสังคมไทย เป็นผลงานวิจัยดีเด่นประจำปี 2549
:: สารบัญ
บทนำ คำถามเบื้องต้นว่าด้วยการศึกษาความรุนแรงกับ "ความจริง" จากกึ่งศตวรรณปัตตานี
บทที่ 1 ความรุนแรงกับ "ความจริง" : ทฤษฎี-วิธีวิทยา-ขอบเขตการศึกษาวิจัย
บทที่ 2 การศึกษาปัตตานี: หนึ่งทศวรรณภูมิทัศน์วิชาการ (2534-2543) ในหนึ่งศตวรรษประวัติศาสตร์การปกครองปัตตานี
บทที่ 3 ความเงียบของอนุสาวรีย์ลูกปืน: ดุซงญอ-นราธิวาส, 2491
บทที่ 4 มูลนิธิของคนสาบสูญ, ทะเลสาบสงขลา 2497 - ปัตตานี 2537
บทที่ 5 กระสุนนัดละบาท? นราธิวาส-ปัตตานี 2518
บทที่ 6 เสียงระเบิดใกล้ที่ประทับ: แถลงการณ์, เสียงเพลงและรถมอเตอร์ไซค์, ยะลา 2520
บทสรุป ความรุนแรงจัดการ "ความจริง" : จากความผิดธรรมดาสู่ความเป็นความเป็นปรกติ
ภาคผนวก กระบวนการจัดการความจริง การศึกษามิติและพลวัตของความเปลี่ยนแปลงของ "ความจริง" ในสังคมไทย

:: คำนิยม
การเชื่อใน "ความจริง" หรือ "ประวัติศาสตร์" คนละชุดกันระหว่างผู้คนแห่ง "ปัตตานี" และ "สยาม" หรือ "รัฐไทย" ในปัจจุบันไม่ว่าจะว่าด้วยเรื่องของ "กรณีเจ้าแขกเจ็ดหัวเมือง" เรื่องของหะยีสุหลงไปจนถึงกรณีการประท้วงรัฐบาลไทยครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดที่ปัตตานีเมื่อปี พ.ศ. 2518 อย่างที่ ดร.ชัยวัฒน์นำเสนอบทวิเคราะห์ คือภาพสะท้อนที่สำคัญยิ่งถึงฐานรากของความเป็นจริงของปัญหาภาคใต้ ที่แม้ทุกวันนี้ก็ยังคุกรุ่นรอการแก้ไขให้ลุล่วงอยู่
สมบัติ จันทรวงศ์
"อ่านมันฉิบ..."
สุจิตต์ วงษ์เทศ