"ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว" ปัจจุบันหลายคนแทนคำนี้ใหม่ว่า "ทำดีได้ดีมีที่ไหน ทำชั่วได้ดีมีถมไป" ซึ่งเป็นการประชดประชันจากผู้คนในยุควัตถุนิยม มองค่าวัดความ "ได้ดี" ที่ทรัพย์สินเงินทอง ความมีหน้าตาในสังคม แต่หากใช้เวลาตรึกตรองดูสักนิดจะรู้ว่า คำว่า "กรรมติดจรวด" ก็เป็นคำที่เปรียบเปรยภาวะของคนก่อกรรมในยุคนี้ได้เห็นภาพเช่นกัน "ท.เลียงพิบูลย์ ได้เขียน "กฎแห่งกรรม" เป็นการคัดสรรเรื่องเล่าจากต้นฉบับตั้งเดิมของ ท.เลียงพิบูลย์ เพื่อดำรงเจตนาหนึ่งของท่านผู้ล่วงลับที่ต้องการเผยแพร่ให้ประชาชนทั่วไปได้รับทราบถึงเรื่องจริงของคนที่ได้รับผลกรรม ทั้งในชาตินี้ ทั้งในชาติหน้า เพื่อให้ผู้ที่ดำรงชีวิตอยู่มีกำลังใจในการทำความดีสืบไป เพราะที่สุดแล้วไซร้ ผลดีย่อมย้อนหาผู้ทำดีวันยังค่ำ
สารบัญ
บทที่ 1 อสุรกายในเมืองมนุษย์
บทที่ 2 กรรมของลุงแก้ว
บทที่ 3 ชีวิตครู่
บทที่ 4 ทำไมจึงเลิกฆ่าสัตว์
บทที่ 5 คุณยายเจ้าของเตียง
บทที่ 6 ผู้ใช้กรรม