การสวดมนต์นั้นเป็นแนวทางหนึ่งที่สามารถสร้าง ศีล สมาธิและปัญญาให้เกิดขึ้นได้ เมื่อนำไปปฏิบัติจะทำให้ตนเองพ้นทุกข์และผ่อนคลายจากความทุกข์ได้ มิใช่แต่เพียงบทสวยชินบัญชรเท่านั้น บทสวดใดก็ได้ ที่ท่านผู้อ่านมีความรู้สึกว่าอยากจะสวด สวดแล้วสบายใจ ก็จงสวดต่อไปเถิดครับ แล้วตัวท่านผู้อ่านก็จะพบว่าการสวดมนต์นั้นทำให้จิตใจเราเป็นสุขจริงๆ อีกทั้งเป็นการสร้างสมาธิและลดการกระทำชั่วได้ด้วยครับ
การสวดมนต์ในพระพุทธศาสนานั้นเบื้องต้น มีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า และเผยแผ่เพื่อประโยชน์สุขแก่ชนทั้งหลาย ภายหลังพุทธปรินิพพานพระเถระทั้งหลายในลังกาได้รวบรวมพระสูตรในพระไตรปิฏก นำมาสวดเพื่อแสดงลำดับของการศึกษาตามไตรสิกขา ต่อมาการสวดมนต์กลายเป็นพิธีธรรมที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อการป้องกันรักษาบุคคลให้พ้นจากภัยอันตรายให้ประสบกับความสำเร็จและความดีงามในชีวิต เหตุที่ได้นำบทสวดมนต์บทนี้มาเขียนเป็นหนังสือเล่มนี้เนื่องจากว่าผู้เขียน เห็นว่าบทสวดมนต์บทนี้เป็นบทสวดที่ไม่ยาวเกินไปนัก แปลออกมาในแต่ละถ้อยคำอักขระ และยังได้อรรถรส และธรรมรส เมื่อได้พิจารณาธรรมไปด้วยในขณะที่สวด อีกทั้งยังสามารถศึกษาเรื่องราวต่างๆ ในสมัยพุทธกาลจากบทสวดมนต์บทนี้ได้
บทที่ 1 ทำไมต้องสวดพระคาถาชินบัญชร
บทที่ 2 อริยะสัจทั้งสี่
บทที่ 3 พระพุทธเจ้า 28 พระองค์
บทที่ 4 พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ (พระรัตนตรัย)
บทที่ 5 พระอนุรุทธเถระ เอตทัคคะในทางผู้มีทิพยจักษุษาณ
บทที่ 6 พระสารีบุตร เอตทัคคะในทางผู้มีปัญญามาก
บทที่ 7 พระโมคคัลลานะเถระ เอตทัคคะในทางผู้มีฤทธิ์มาก
บทที่ 8 พระอัญญาโกณฑัญญะเถระ เอตทัคคะในทางรัตตัญญูรู้ราตรีนาน
บทที่ 9 พระอานนท์เถระ เอตทัคคะในทางผู้เป็นพหูสูตร
บทที่ 10 พระราหุล เอตทัคคะในทางผู้ใคร่ในการศึกษา
...ฯลฯ...