รูปภาพสินค้า รหัส9789749534304
9789749534304
คุณค่าของความหลากหลายทางชีวภาพอยู่ที่...การร่วมเรียนรู้ รักษา และใช้ประโยชน์ของประชาชน
ผู้เขียนฝ่ายสิ่งแวดล้อม นิเวศวิทยาและพลังงาน สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)

ส่วนลด 0 %
ราคาปก 159.00 บาท
ราคาสุทธิ 159.00 บาท
Bookmark and Share
รายละเอียดหนังสือ
รหัสสินค้า: 9789749534304
จำนวน: 154 หน้า
ขนาดรูปเล่ม: 144 x 210 x 8 มม.
น้ำหนัก: 275 กรัม
เนื้อในพิมพ์: สี่สีในเล่ม 
ชนิดปก: ปกอ่อน 
ชนิดกระดาษ: กระดาษอาร์ต 
หน่วย: เล่ม 
สำนักพิมพ์: วิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.), สถาบัน 
เดือนปีที่พิมพ์: 6 / 2550
:: คำนำ
หนังสือเห็ดในป่าสะแกราชเล่มนี้เป็นผลงานวิจัยอีกเรื่องหนึ่งที่ได้ศึกษาจำแนกชนิดเห็ดป่าบางส่วนที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไปในพื้นที่ป่าสะแกราชและป่าในภูมิภาคอื่นที่มีลักษณะโครงสร้างป่าเหมือนหรือใกล้เคียงกันให้เป็นที่รู้จักแก่ประชาชนและผู้ที่สนใจ เนื่องจากเห็ดและเชื้อรานอกจากการมีบทบาทที่สำคัญในการเป็นผู้ย่อยสลายอินทรีย์สารให้หมุนเวียนกลับไปเป็นธาตุอาหารแก่ผู้ผลิตในระบบนิเวศแล้วเห็นและเชื้อราหลายชนิดยังสามารถนำมาใช้เป็นยารักษาโรค สมุนไพรและที่สำคัญคือเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญคู่กับคนไทยมาช้านาน
:: เนื้อหาโดยสังเขป
เห็ดที่เห็นอยู่ทั่วไปเป็นลำดับขั้นตอนหนึ่งของสิ่งมีชิวิตจำพวกราขนาดใหญ่ (macrofungi) ดอกเห็ดหรือ fruiting body เป็นส่วนสร้างสปอร์เพื่อการแพร่กระจายพันธุ์ รูปร่างของดอกเห็ดที่พบเห็นทั่วไปนั้นประกอบด้วยส่วนของหมวกและก้านเป็นรูปร่มแต่ก็มีเห็ดอีกหลายประเภทที่มีรูปร่างแปลกตาและสวยงาม นอกเหนือไปจากความสวยงามแปลกตาที่ชวนมองแล้ว เพื่อพิจารณาถึงหน้าที่ของเห็ดราแล้วจะพบว่าเป็นกลุ่มสิ่งมีชีวิตที่มีความสำคัญในการเป็นกลไกหลักของการหมุนเวียนธาตุอาหารในวัฏจักรคาร์บอนของระบบนิเวศป่าไม้ของโลกที่มีรูชีวิตที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งกลุ่มหนึ่ง
:: สารบัญ
- บทนำ
- กลุ่มเห็ดเห็ดรูปถ้วย
- กลุ่มเห็ดนิ้วมือคนตาย
- กลุ่มเห็ดครีบ
- กลุ่มเห็ดขมิ้นมันปู
- กลุ่มเห็ดตับเต่า
- กลุ่มเห็ดปะการัง
- กลุ่มเห็ดวุ้น
- กลุ่มเห็ดหิ้ง
- กลุ่มเห็ดลูกฝุ่นและเห็ดดาวดิน
ฯลฯ
:: คำนิยม
การจัดทำหนังสือชนิดเห็ดในป่าสะแกราชครั้งนี้สำเร็จลงด้วยดีได้เพราะได้รับความร่วมมือจากหลายฝ่ายโดยใช้งบประมาณของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ทางคณะผู้จัดทำจึงใคร่ขอขอบคุณเจ้าหน้าที่ในสถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสแกราชทุกท่านที่ได้ให้ข้อมูลตลอดจนอำนวยความสะดวกในการเข้าเก็บข้อมูลในพื้นที่


ฝ่ายสิ่งแวดล้อมนิเวศวิทยา และพลังงาน
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)