สันตบท หมายถึงทางดำเนินแห่งผู้สงบ เมื่อสันตบุรุษให้สิ่งที่ให้ได้ยาก ทำสิ่งที่ทำได้ยากอยู่ อสันตบุรุษทำตามไม่ได้ เพราะธรรมหรือทางดำเนินของสันตบุรุษทำตามได้ยาก เพราะฉะนั้น ทางดำเนินจึงต่างกัน อสันตบุรุษไปทางเสื่อม สันตบุรุษไปทางเจริญ หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงคุณสมบัติของผู้ดำเนินสู่สันตบท คือทางแห่งผู้สงบหรือทางแห่งคนดี ตามนัยแห่งกรณีเมตตสูตร ขุททกนอกาย ขุททกปาฐะ ในพระไตรปิฎกเล่ม 25 หน้า 13 ข้อ10
สารบัญ
1. สักโก เป็นผู้องอาจ
2. อุชุ เป็นผู้ซื่อตรง สุหุชุ ซื่อตรงด้วยดี
3. สุวโจ เป็นคนว่าง่าย
4. มุทุ เป็นผู้อ่อนโยน
5. อนติมานี แปลว่า ไม่ดูหมิ่นผู้อื่น
6. สันตุสสโก เป็นผู้สันโดษ
7. สุภโร การเป็นผู้เลี้ยงง่าย
8. อัปปกิจโจ เป็นผู้มีกิจน้อย
9. สัลลหุกวุตติ ประพฤติตนเป็นผู้เบากาย เบาใจ
10. สันตริทรีโย มีอินทรีย์สงบ
11. นิปโก ผู้มีปัญญารักษาตน
12. อัปปคัพโภ เป็นผู้ไม่คนองกาย วาจา มีจิตสงบ
13. กุเลสุอนนุคิทโธ ไม่ติดพันในตระกูลทั้งหลาย
14. อนูปวาโท ไม่กล่าวร้าย
15. เมตตวา มีเมตตา