การประกอบธุรกิจทุกชนิดต้องอาศัยเงินทุน บริษัทจะจัดหาเงินทุนอย่างไรและนำเงินทุนไปใช้อย่างไร นับเป็นประเด็นปัญหาที่ผู้บริหารจะต้องพิจารณาอยู่เสมอ การจัดการเงินที่มีหลักเกณฑ์จะช่วยให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจในประเด็นปัญหาข้างต้นได้อย่างถูกต้อง ซึ่งจะมีผลให้ฐานะการเงินของบริษัทมีความมั่งคั่งและมั่นคงในระยะยาวได้ ด้วยเหตุนี้วิชาการเงินธุรกิจจึงจัดเป็นวิชาที่สำคัญมากวิชาหนึ่งสำหรับนักศึกษาในสาขาวิชาบริหารธุรกิจ ปัจจุบันการเงินเป็นวิชาที่มีเนื้อหาสาระกว้างและลึกซึ้งมาก สำหรับตำราเล่มนี้มีลักษณะเด่นโดยที่เน้นในเรื่องการตัดสินใจทางการเงินที่สำคัญต่อการสร้างความมั่งคั่งสูงสุดให้แก่ผู้ถือหุ้นของบริษัท ซึ่งถือว่าเป็นเป้าหมายหลักที่สำคัญของการจัดการการเงินธุรกิจ ซึ่งประกอบด้วยเนื้อหาสาระที่เป็นพื้นฐานสำคัญของการจัดการการเงิน โดยได้แบ่งเนื้อหาออกเป็น 4 ส่วน จำนวน 13 บทคือ ส่วนที่ 1 แนวความคิดพื้นฐานทางการเงิน ส่วนที่ 2 การตัดสินใจการลงทุนระยะยาว ส่วนที่ 3 การตัดสินใจการจัดหาเงินทุนระยะยาว นโยบายเงินปันผล และต้นทุนของเงินทุน และส่วนที่ 4 นโยบายและการจัดการเงินทุน
หมุนเวียน โดยที่เนื้อหาแต่ละบทได้อธิบายถึงทฤษฎีและแนวความคิด พร้อมทั้งแสดงตัวอย่างเพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจในเนื้อหาแต่ละส่วน และยังเหมาะสมกับนักศึกษาที่ศึกษาวิชาการเงินธุรกิจการเงินเบื้องต้นหรือการจัดการการเงินและบุคคลทั่วไปที่สนใจเกี่ยวกับการเงินธุรกิจ
สารบัญ
ส่วนที่ 1 แนวความคิดพื้นฐานทางการเงิน
บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการจัดการการเงิน
บทที่ 2 ความเข้าใจเกี่ยวกับงบการเงินและกระแสเงินสด
บทที่ 3 การประเมินผลการดำเนินงานของบริษัท
บทที่ 4 มูลค่าเงินตามเวลา
ส่วนที่ 2 การตัดสินใจลงทุนระยะยาว
บทที่ 5 งบลงทุน
บทที่ 6 การประเมินโครงการลงทุน
ส่วนที่ 3 การตัดสินใจจัดหาเงินทุนระยะยาว
บทที่ 7 บริษัทจัดหาเงินทุนระยะยาวอย่างไร
บทที่ 8 เงินทุนระยะยาว
บทที่ 9 นโยบายเงินปันผลและเงินทุนภายในบริษัท
บทที่ 10 ต้นทุนของเงินทุน
ส่วนที่ 4 นโยบายและการจัดการเงินทุนหมุนเวียน
บทที่ 11 การจัดการเงินทุนหมุนเวียนและการจัดหาเงินทุนระยะสั้น
บทที่ 12 การจัดการเงินสดและหลักทรัพย์ที่ตลาดต้องการ
บทที่ 13 การจัดการลูกหนี้และสินค้าคงเหลือ
ภาคผนวก