ในภาวะธุรกิจอุตสาหกรรมปัจจุบัน การแข่งขันทางการผลิตสินค้าเป็นไปอย่างดุเดือด เพื่อที่จะรักษาไว้ซึ่งลูกค้าและส่วนแบ่งการตลาด กลยุทธ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งในการดำเนินธุรกิจอุตสาหกรรมให้ได้ผลกำไรและสร้างความเจริญเติบโตให้ธุรกิจก็คือ การบริหารการผลิตและการดำเนินงาน คงจะปฏิเสธไม่ได้ว่าการ
ดำเนินงานเป็นหัวใจหลักของทุกๆ กิจกรรม ดังนั้นเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กรธุรกิจจึงจำเป็นที่จะต้องนำเทคนิควิทยาการการบริหารเข้ามาใช้ในการบริหารจัดการการดำเนินกิจกรรมทั้งหมดขององค์กร
เนื้อหาหลักโดยทั่วไปของวิชาการบริหารการดำเนินงานส่วนใหญ่จะเน้นแต่ปัญหาเฉพาะจุดโดยใช้เทคนิคจากสาขาวิทยาการบริหารและการวิจัยการดำเนินงานเพื่อที่จะสร้างแบบจำลองการตัดสินใจ ซึ่งจะเห็นได้จากตำราและหนังสือทั่วไป แต่ในปัจจุบันกิจกรรมต่าง ๆ ในการบริหารดำเนินงานมีความซับซ้อนเพิ่มมากขึ้นตามทิศทางและแนวโน้มของสังคมและเศรษฐกิจ การที่จะผลิตสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ใด ๆ ให้สำเร็จออกจำหน่ายได้นั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับบริษัทหรือผู้ผลิตเพียงรายเดียวเท่านั้น แต่จำเป็นที่จะต้องพึ่งพาและมีความร่วมมือกันจากหลายๆ บริษัทผู้ส่งวัตถุดิบเพื่อที่จะตอบสนองความต้องการของลูกค้า
ในปัจจุบันกลยุทธ์ทางการจัดการโซ่อุปทาน (Supply Chain Management) และการจัดการด้านลอจิสติกส์ (Logistics) หรือการส่งกำลังบำรุงกำลังเป็นที่กล่าวถึง ว่าเป็นแนวคิดการจัดการเชิงกลยุทธ์ยุคใหม่ที่จะช่วยลดต้นทุนและตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้เทคนิคทางด้านการบริหารการดำเนินงานและเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยสร้างแบบจำลองของโซ่อุปทาน (Supply Chain Model) เพื่อที่จะใช้เป็นเครื่องช่วยในการตัดสินใจในการบริหารการดำเนินงาน
หนังสือเล่มนี้เหมาะสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีขั้นสูง ปริญญาโททางด้านบริหารธุรกิจ การจัดการอุตสาหกรรม รวมไปถึงผู้ประกอบการอุตสาหกรรมทุกท่านที่จะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการเพิ่มผลผลิตขององค์กรและเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันต่อวงการอุตสาหกรรมระดับโลกในที่สุด
สารบัญ
ตอนที่ 1 การสร้างโครงสร้างทางกลยุทธ์เพื่อวิเคราะห์โซ่อุปทาน (Supply Chain)
บทที่ 1 ทำความเข้าใจกับ โซ่อุปทาน
บทที่ 2 สมรรถนะของโซ่อุปทาน : การบรรลุถึงความเหมาะสมเชิงกลยุทธ์และขอบเขต
บทที่ 3 ตัวขับเคลื่อนและอุปสรรคของโซ่อุปทาน
ตอนที่ 2 การวางแผนอุปสงค์และอุปทานในโซ่อุปทาน
บทที่ 4 การพยากรณ์อุปสงค์ในโซ่อุปทาน
บทที่ 5 การวางแผนการผลิตรวมในโซ่อุปทาน
บทที่ 6 การวางแผนอุปทานและอุปสงค์ในโซ่อุปทาน : การจัดการกับความแปรปรวนที่สามารถทำนายได้
ตอนที่ 3 การวางแผนและการจัดการสินค้าคงคลังในโซ่อุปทาน
บทที่ 7 การจัดการการประหยัดจากขนาดในโซ่อุปทาน : สินค้าคงคลังหมุนเวียน
บทที่ 8 การจัดการความไม่แน่นอนในโซ่อุปทาน : สินค้าคงคลังเพื่อความปลอดภัย
บทที่ 9 การกำหนดระดับที่เหมาะสมที่สุดของความพร้อมของผลิตภัณฑ์
ตอนที่ 4 การขนส่ง การออกแบบเครือข่ายและเทคโนโลยีสารสนเทศ ในโซ่อุปทาน
บทที่ 10 การขนส่งในโซ่อุปทาน
บทที่ 11 การตัดสินใจเลือกสิ่งอำนวยความสะดวก : การออกแบบเครือข่ายในโซ่อุปทาน
บทที่ 12 เทคโนโลยีสารสนเทศในโซ่อุปทาน
ตอนที่ 5 การประสานงานในโซ่อุปทานและบทบาทของ E-Business
บทที่ 13 การประสานงานในโซ่อุปทาน
บทที่ 14 E-Business กับโซ่อุปทาน
ตอนที่ 6 ปัจจัยด้านการเงินที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเกี่ยวกับโซ่อุปทาน
บทที่ 15 การประเมินด้านการเงินของการตัดสินใจเกี่ยวกับโซ่อุปทาน