หนังสือ"เศรษฐศาสตร์มหภาค" นับเป็นหนังสือฉบับคลาสสิกที่เป็นที่ยอมรับและเลือกใช้ในหลายสถาบันทั่วโลก และมีลักษณะเด่นคือ มีเนื้อหาครอบคลุมทฤษฎีเศรษฐศาสตร์มหภาคของทั้ง 3 สำนัก ได้แก่ สำนักคลาสสิก สำนักเคนส์ และสำนักของนักการเงินนิยม โดยผู้เขียนได้นำมาแสดงเปรียบเทียบเพื่อชี้ให้เห็นถึงความสอดคล้อง และความแตกต่างในประเด็นสำคัญที่เป็นข้อโต้แย้งในหมู่นักเศรษฐศาสตร์มหภาคที่มีพื้นฐานมาจากความแตกต่างของทฤษฎีและแบบจำลองต่าง ๆ และได้เขียนอธิบายตั้งแต่ความรู้พื้นฐานเบื้องต้นและค่อย ๆ ลึกซึ้งไปสู่ความรู้ขั้นสูงโดยใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย มีภาพและตารางประกอบ มีส่วนขยายซึ่งเชื่อมโยงเนื้อหาสาระในหนังสือกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในระบบเศรษฐกิจจึงเหมาะสำหรับนักศึกษาปริญญาตรี คณะเศรษฐศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจ คณะบัญชี และคณะวิทยาการจัดการ
หนังสือเล่มนี้ได้แบ่งเนื้อหาออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ประกอบด้วย 2 บท ซึ่งจะกล่าวถึงเนื้อหาหลัก ๆ ของเศรษฐศาสตร์มหภาค ได้แก่ พฤติกรรมของระบบเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาที่ผ่านมาเมื่อเร็ว ๆ นี้และเครื่องวัดของตัวแปรเศรษฐกิจมหภาค โดย 2 ประเด็นแรกจะอยู่ในบทที่ 1 ซึ่งเป็นบทนำและในบทนี้ได้พัฒนาคำถามซึ่งเป็นหัวใจหลักของเศรษฐศาสตร์มหภาค และบทที่ 2 ว่าด้วยเรื่องของคำถาม
เกี่ยวกับเครื่องวัดของตัวแปรเศรษฐกิจมหภาค ส่วนสำคัญของภาพรวมของเศรษฐศาสตร์มหภาค โดยมุ่งเน้นในการพิจารณาบัญชีรายได้ประชาชาติของสหรัฐอเมริกา ส่วนที่ 2 ประกอบด้วย 7 บท บทต่าง ๆ ในส่วนนี้ได้พิจารณาย้อนไปถึงพัฒนาการของทฤษฎีต่าง ๆ ทางเศรษฐกิจมหภาคที่แข่งขันกันอยู่ นอกจากจะพูดถึงข้อถกเถียงในทางทฤษฎีแล้ว ยังอธิบายปรากฎการณ์ทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกันดังกล่าวไว้ในบทที่ 1 และพยายามตอบคำถามหลัก ๆ ของนโยบายเศรษฐกิจมหภาค โดยเริ่มจากการวิเคราะห์แบบจำลองเศรษฐกิจมหภาคคลาสสิก (บทที่ 3 และบทที่ 4) ต่อมาก็พูดถึง แบบจำลองของเคนส์ (บทที่ 5-8) แบบจำลองของนักการเงินนิยม (บทที่ 9 และบทที่ 10) และแบบจำลองของสำนักคลาสสิกใหม่ (บทที่ 11) หลังจากนั้นจึงพิจารณาถึงทิศทางใหม่ 2 ทิศทางในงานวิจัยทางเศรษฐกิจมหภาค คือ ทฤษฎีวงจรธุรกิจที่แท้จริงและเศรษฐศาสตร์สำนักเคนส์ใหม่ (บทที่ 12) บทสุดท้ายในส่วนนี้สรุปสถานภาพของสำนักต่าง ๆ ทางเศรษฐศาสตร์มหภาค
สารบัญ
ส่วนที่ 1 บทนำและเครื่องวัด
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 เครื่องวัดของตัวแปรเศรษฐกิจมหภาค
ส่วนที่ 2 แบบจำลองเศรษฐกิจมหภาค
บทที่ 3 เศรษฐศาสตร์มหภาคของสำนักคลาสสิก (I) : ผลผลิตดุลยภาพและการจ้างงาน
บทที่ 4 ระบบของคลาสสิก (II) : เงิน ระดับราคา และอัตราดอกเบี้ย
บทที่ 5 ระบบของเคนส์ (I) : บทบาทของอุปสงค์มวลรวม
บทที่ 6 ระบบของเคนส์ (II) : เงิน อัตราดอกเบี้ย รายได้
บทที่ 7 ระบบของเคนส์ (III) : ผลกระทบของนโยบายในแบบจำลองของ IS-LM
บทที่ 8 ระบบของเคนส์ (IV) : อุปสงค์มวลรวมและอุปทานมวลรวม
บทที่ 9 การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของนักการเงินนิยม