รูปภาพสินค้า รหัส9789748878720
9789748878720
ประวัติการถ่ายภาพในประเทศไทย พ.ศ. 2388-2534
ผู้เขียนศักดา ศิริพันธุ์ (ราชบัณฑิต), ศ.

ส่วนลด 0 %
ราคาปก 1,000.00 บาท
ราคาสุทธิ 1,000.00 บาท
Bookmark and Share
รายละเอียดหนังสือ
รหัสสินค้า: 9789748878720
จำนวน: 400 หน้า
ขนาดรูปเล่ม: 215 x 294 x 29 มม.
น้ำหนัก: 1625 กรัม
เนื้อในพิมพ์: คละสี 
ชนิดปก: ปกแข็ง 
ชนิดกระดาษ: กระดาษอาร์ต 
หน่วย: เล่ม 
สำนักพิมพ์: -ไม่ปรากฏสำนักพิมพ์ 
เดือนปีที่พิมพ์: 8 / 2535
:: เนื้อหาโดยสังเขป
หนังสือที่จะพาคุณไปสัมผัสกับประวัติการถ่ายภาพในประเทศไทย นับแต่ พ.ศ. 2388 ถึง 2534 อย่างละเอียดลึกซึ้ง จากข้อมูลซึ่งผ่านการศึกษาวิจัยและเรียบเรียงมาแล้วเป็นอย่างดีโดย "ศาสตราจารย์ ศักดา ศิริพันธุ์" ตั้งแต่วิวัฒนาการการถ่ายภาพยุคแรกของโลก จนถึงกำเนิดการถ่ายภาพในประเทศไทย นับแต่สมัย "รัชกาลที่ 4" ซึ่งมีการนำกล้องถ่ายรูปเข้ามาในประเทศไทยเป็นครั้งแรก และความรู้เรื่องการถ่ายภาพได้แพร่กระจายไปสู่ภูมิภาค ทำให้เกิดนักถ่ายรูปมือสมัครเล่นขึ้นจำนวนมาก ในช่วงรัชกาลที่ 5

แม้ในสมัยรัชกาลที่ 6 จนถึงรัชกาลที่ 7 ทั้งสองพระองค์ ก็ยังทรงสืบทอดและพัฒนาการถ่ายรูปเรื่อยมา โดยใช้กล้องบันทึกการเสด็จเยี่ยมเยือนราษฎร พร้อมทั้งมีร้านถ่ายรูปสำคัญๆ เกิดขึ้นมากมาย จนในยุครัชกาลที่ 9 การถ่ายภาพก็เจริญรุ่งเรือง เนื่องจากพระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสนพระราชหฤทัยในการถ่ายถาพเชิงศิลปะ และการถ่ายภาพเพื่อบันทึกความก้าวหน้าโครงการพระราชดำริ ตลอดจนมีองค์กร สมาคม รวมถึงโรงเรียน และสื่อต่างๆ เผยแพร่ความรู้ด้านการถ่ายภาพจนกว้างไกล และเข้าถึงประชนชนทั่วไป

ยิ่งไปกว่านั้น ผู้เขียนยังได้นำเสนอบทสรุปถึงวิวัฒนาการการถ่ายภาพในประเทศไทย พร้อมทั้งวิเคราะห์ธุรกิจการถ่ายภาพตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน และนำเสนอแนวโน้มการถ่ายภาพในอนาคตให้ได้ศึกษากันอีกด้วย สำหรับผู้ที่กำลังเรียนรู้ด้านการถ่ายภาพ หรือสนใจเรื่องราวของการถ่ายภาพ หนังสือเล่มนี้จะเป็นข้อมูลให้คุณใช้อ้างอิงในการศึกษาหาความรู้ ด้านประวัติการถ่ายภาพในไทยได้เป็นอย่างดี
:: สารบัญ
- ประวัติการถ่ายภาพยุคแรกของโลก
- กำเนิดการถ่ายภาพในประเทศไทย การพัฒนาและพระบรมราชูปถัมภ์
- ช่างถ่ายรูปสมัยรัชกาลที่ 4
- ปีทองของการถ่ายรูปสมัยรัชกาลที่ 5
- รัชกาลที่ 6 ทรงสืบทอดและพัฒนาการถ่ายรูป
- พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวกับการถ่ายรูป
- ยุคการถ่ายภาพเฟื่องฟูสมัยรัชกาลที่ 9
- บทสรุป