การทดสอบกำลังรับน้ำหนักของเสาเข็ม เป็นสิ่งที่จำเป็นในการควบคุมคุณภาพของการก่อสร้างฐานรากเสาเข็ม ถึงแม้ว่าเสาเข็มจะเป็นระบบฐานรากที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในประเทศไทยมาแล้วหลายสิบปีแล้วก็ตาม แต่การทดสอบและแปลผลการทดสอบก็ยังอาศัยมาตรฐานจากต่างประเทศที่มีความหลากหลาย และเป็นที่ยอมรับเฉพาะโครงการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเท่านั้น ในบางครั้งจึงนำไปสู่ข้อขัดแย้งในระหว่างวิศวกรและผู้ที่เกี่ยวข้องเสมอ ๆ
ในขณะที่วงการก่อสร้างของประเทศไทยจะต้องก้าวสู่ความเป็นสากลและสร้างฐานความรู้ด้านนี้ไว้เป็นของเราเอง สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยคณะอนุกรรมการสาขาวิศวกรรมปฐพี คณะกรรมการวิชาการสาขาวิศวกรรมโยธา จึงได้มอบทุนสนับสนุนให้ รศ.ดร.วรากร ไม้เรียง และคณะดำเนินการศึกษาและจัดทำหนังสือ "การทดสอบน้ำหนักบรรทุกเสาเข็ม" พร้อมโปรแกรมฐานข้อมูลการทดสอบเสาเข็มขึ้นโดยระบบฐานข้อมูลได้ เก็บรวบรวมผลการทดสอบเสาเข็มจนถึงการพิบัติจากโครงการต่าง ๆ 93 กรณี พร้อมกับได้วิเคราะห์เปรียบเทียบการแปลผลการทดสอบด้วยวิธีต่าง ๆ ที่มีใช้กันอย่างแพร่หลาย เพื่อประมวลหาวิธีที่เหมาะสมที่สุดสำหรับกรณีการทดสอบที่มีข้อมูลอยู่ โดยหวังว่าจะเป็นแนวทางให้วิศวกร นายช่าง และผู้ที่เกี่ยวข้องได้ใช้แปลผล และอ้างอิงถึงการทดสอบหากำลังรับน้ำหนักของเสาเข็มต่อไป
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 พฤติกรรมการรับน้ำหนักของเสาเข็ม
บทที่ 3 การทดสอบกำลังรับน้ำหนักบรรทุกของเสาเข็ม
บทที่ 4 การแปลผลการทดสอบเสาเข็มเพื่อหาค่ากำลังรับน้ำหนัก
บรรทุกของเสาเข็ม
บทที่ 5 การใช้งานระบบฐานข้อมูลการทดสอบเสาเข็ม
บทที่ 6 ผลการศึกษา
สรุปผลการวิจัย
ข้อเสนอแนะประกอบการทดสอบเสาเข็ม
เอกสารอ้างอิง
ภาคผนวก ก. หลักการเลือกชนิดของเสาเข็ม
ภาคผนวก ข. ข้อพิจารณาที่สำคัญในการก่อสร้างเสาเข็ม
ภาคผนวก ค. ผลการวิเคราะห์หาค่าน้ำหนักบรรทุกสูงสุด
ภาคผนวก ง. เกณฑ์กำหนดในการประเมินหาน้ำหนักบรรทุกปลอดภัย
ภาคผนวก จ. ผลกระทบต่อสภาพชั้นดินเนื่องจากการติดตั้งเสาเข็ม
ภาคผนวก ฉ. วิธีดำเนินการวิจัย
ภาคผนวก ช. การวิเคราะห์น้ำหนักบรรทุกสูงสุดเมื่อทดสอบไม่ถึง
จุดพิบัติ