สังคมทุกสังคมย่อมต้องการสมาชิกผู้ใหญ่ในจำนวนที่เหมาะสมเพื่อเป็นหลักประกันการต่อเนื่องในทางชีวะ และการทำหน้าที่ตามบทบาท (role) และสถานภาพ (status) ที่จำเป็นเพื่อความคงอยู่ของสังคมเสมอ ด้วยเหตุนี้ สังคมจึงต้องมีการปรับตัว การจัดดำเนินการ และการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ของตนอยู่เป็นครั้งคราวตามความจำเป็นและต้องการอยู่เสมอ การปรับปรุงดัดแปลงภาวะแวดล้อมทางธรรมชาติก็ด้วยเหตุเดียวกัน สังคมที่อยู่ในอาณาเขตแห้งแล้งก็ย่อมจะต้องรู้จักแสวงหาวิธีการรักษาอาหาร วิธีการชลประทาน หรือไม่ก็ต้องรู้จักเปลี่ยนถิ่นที่อยู่เป็นครั้งคราวตามความจำเป็น (nomadic migration) สังคมที่อยู่ใกลิชิดกับสังคมที่เป็นศัตรู ก็จะต้องเตรียมกำลังทหารไว้ป้องกันตนให้เข้มแข็ง และพร้อมอยู่เสมอเช่นนี้เป็นต้น บางครั้งบางสังคมก็จัดให้มีการลดจำนวนสมาชิกลงด้วยวิธีการทำลายเด็กหญิงที่เกิดใหม่ (infanticide) เนื่องด้วยความขาดแคลนอาหาร และเพื่อเป็นการประกันว่าสังคมจะดำเนินอยู่ได้ต่อไป ด้วยจำนวนสมาชิกที่ไม่มากเกินไปกว่าจำนวนอาหารที่มี
ไม่มีใครจะสามารถกำหนดได้แน่นอนว่า สังคมแต่ละแห่งควรจะมีสมาชิกเท่าใดจึงจะพอเหมาะพอดี สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติและทางสังคมย่อมจะเป็นตัวกำหนดของประชากรแต่ละสังคมได้ดีที่สุด จึงเป็นหน้าที่ของผู้ปกครองสังคมที่จะต้องคำนึงถึงควมจริงข้อนี้ และมุ่งกำหนดนโยบายประชากรโดยอาศัยข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้อย่างจริงจังมากที่สุดเพื่อความคงอยู่ของสังคม
บทที่ 1 สังคมมนุษย์ : ความหมายและคำจำกัดความ
บทที่ 2 วิธีการศึกษาสังคมมนุษย์
บทที่ 3 สังคมในฐานะที่เป็นระบบกระทำการ
บทที่ 4 นักสังคมศาสตร์ศึกษาสังคมไทย
บทที่ 5 บทส่งท้าย
บรรณานุกรม