นอกจากความสุข ความเพลิดเพลิน และสุนทรียรสที่จะได้รับจากดนตรีแจ๊สแล้ว เพื่อตอกย้ำคุณค่าของการฟังมากยิ่งขึ้น จึงมีคำกล่าวทำนองว่า “ผลงานบันทึกเสียง คือตำราแจ๊สดีนี่เอง” เหตุผลเพราะการฟังสิ่งที่นักดนตรีบรรเลงตลอดช่วงเวลา 1 ศตวรรษแห่งพัฒนาการของดนตรีแขนงนี้ ย่อมเป็นประตูที่เปิดกว้างให้ผู้ฟังมีความเข้าใจและซาบซึ้งในดนตรีแขนงนี้ได้ดียิ่งขึ้น
หนังสือ “100 JAZZ Albums Review” เล่มนี้ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของงานบันทึกเสียงแจ๊ส ที่มีอยู่มากมายนับไม่ถ้วน ซึ่งมาจากการคัดสรรที่อิงมุมมองเชิงอัตวิสัยอยู่มาก แม้จะใช้หนังสือหลายเล่มอ้างอิงก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นเพนกวินไกด์, เพลย์บอยแจ๊ส, National Radio (อเมริกา), ออล มิวสิค ไกด์ ฯลฯ
ความมุ่งหวังของหนังสือเล่มนี้อยู่ตรงที่เราน่าจะเป็นบทสนทนาใหม่ ๆ เกี่ยวกับดนตรีแจ๊สได้แล้ว แจ๊สใสฐานะที่เป็นผลงานศิลปะ ซึ่งดำรงค์อยู่เหนือกาลเวลา (Timeless) เพื่อปรับแก้ความเข้าใจผิดที่ครอบงำสังคมไทยมาเป็นเวลานาน
1. A Love Supreme หลักชัยของโคลเทรน
2. Birth of the Cool แรงบันดาลใจของ "คูล"
3. Kind of Blue ปลดปล่อยแจ๊สสู่ "โมดัล"
4. Genius of the Electric Guitar ตำนานหน้าแรกของกีตาร์ไฟฟ้า
5. Time Out งานทดลองระดับมาสเตอร์พีซ
6. Waltz for Debbie เอกภาพแห่งวงทริโอ
7. Genius of Modern Music Vol.1 อัจฉริยะมาพร้อมกับความแปลก
8. Getz / Gilberto ปลุกโลกให้รู้จัก 'บอสซา'
9. The Koln Concert ด้านโรแมนติกของนักเปียโน
10. Saxophone Colossus กลวิธีชั้นดีของการด้นสด
ฯลฯ
แรงบันดาลใจ คือสิ่งที่นักดนตรีทุกคนต้องการ ต้องการเป็นอย่างมากเสียด้วย เพื่อเป็นพลังขับเคลื่อน การบรรเลง การคิดสร้างสรรค์โน้ตแต่ละโน้ตให้ออกมาอย่างที่ใจต้องการ
โก้ มิสเตอร์แซ็กฯ แมน
(เศกพล อุ่นสำราญ)