โอ๊ะ...โอ๊ะ เผลอแป็บเดียวก็ถึงฤดูการลสอบเอนทรานซ์เข้ามหาวิทยาลัยกันอีกแล้ว น้องๆ คนไหนที่จะต้องก้าวเข้าสู่สนามสอบอันเลื่องชื่อในครั้งนี้ ถ้ามีคณะหรือสาขาวิเรียนในดวงใจแล้วก็คงจะสบายใจไปเปลาะหนึ่ง เพราะจะได้พุ่งเป้าอ่านหนังสือไปที่วิชาที่เกี่ยวข้องกับการเรียนนั้นๆ ได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยไม่วอกแวก สองจิตสองใจ หรือรักพี่เสียดายน้อง แต่ถึงจะยังเลือกไม่ได้ก็ไม่ใช่เรื่องคอขาดบาดตาย ใจเย็นๆ แล้วสำรวจความชอบของตัวเอง บวกกับความสามารถในการเรียนวิชาด้านต่างๆ เสียตั้งแต่บัดนี้ แต่อาจต้องรีบกันหน่อย อย่ามัวแต่ถือสุภาษิต "ช้าๆ ได้พร้าเล่มงาม" อยู่ ช่วยเวลานาทีทองอย่างนี้ คงต้องเปลี่ยนมาใช้สุภาษิต "สายน้ำไม่คอยท่า กาลเวลาไม่คอยใคร" น่าจะเหมาะกว่า ที่สำคัญ ลองพลิกหนังสือ "ม.ไหนดี2551" ฉบับปรับปรุงเพิ่มเติมล่าสุด ที่น้องกำลังถืออยู่ เข้าไปอ่านด้านในดูสิว่า มหาวิทยาลัยหรือสถาบันไหนที่เปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรี และมีสาขาอะไรน่าสนใจบ้าง รับรองว่ามีหลายแหล่งหลายสาชาวิชาที่น้องๆ ไม่เคยรู้จัก แถมไม่เคยได้ยินชื่อด้วยซ้ำ เมื่ออ่านเสร็จแล้ว บางทีน้องๆ อาจตัดสินใจเลือกสาขาวิชาเรียนได้ง่ายขึ้นเยอะ
การสอบเข้ามหาวิทยาลัยนับว่าเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดในชีวิตของนักเรียนคนหนึ่งที่เรียนในประเทศไทยเลยทีเดียว เพราะไม่ว่าจะสมัยไหน การสอบเอนทรานซ์ก็เป็นภาระอันยิ่งใหญ่ของนักเรียนมัธยมปลายทุก ๆ คนที่ล้านแต่ต้องการสอบเข้ามหาวิทยาลัยของรัฐ โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยแนวหน้าที่มีอยู่ไม่กี่แห่งให้จงได้
แต่ทางเลือกในชีวิตจริงๆ แล้วมีมากกว่านั้น ปัจจุบันมีมหาวิทยาลัยในประเทศทั้งรัฐและเอกชนรวมแล้วกว่า 50 แห่ง ซึ่งยังไม่นับรวมมหาวิทยาลัยราชภัฏที่มีอยู่แทบทุกจังหวัด มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี วิทยาลัยเอกชน และสถาบันอื่นๆ ซึ่งนับว่าเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับน้องๆ ที่ใฝ่เรียนอยู่ไม่น้อย
- อะไรคือเอนทรานซ์
- การสอบตรงหรือระบบโควต้า
- การเลือกคณะ
- ค่าใช้จ่าย
มหาวิทยาลัยรัฐบาล
กรุงเทพฯ และปริมณฑล
- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
- มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- มหาลัยมหิดล
- มหาวิทยาลัยรามคำแหง
...ฯลฯ...