เนื้อหาในบทที่ 1 ถึงบทที่ 4 เป็นความรู้ขั้นพื้นฐานด้านปฐมพีกลศาสตร์ บทที่ 5 เป็นความรู้เกี่ยวกับการไหลซึมของน้ำ บทที่ 6 ถึงบทที่ 7 ได้อธิบายเกี่ยวกับสมบัติทางด้านกำลังรับแรงเฉือนของทรายและดินเหนียวเพื่อให้ตรวจเสถียรภาพของมวลดินเหนียวและทราย ส่วนบทที่ 8 และบทที่ 9 ได้เสนอวิธีการวิเคราะห์ปริมาณการทรุดตัว และวิธีการวิเคราะห์อัตราการทรุดตัวของชั้นดิน พร้อมทั้งข้อเสนอแนะในการพิจารณาไขปัญหา
เนื้อหาในหนังสือเล่มนี้ บางส่วนอาจเกินหลักสูตรในระดับปริญญาตรีโดยทั่วไป โดยเฉพาะเนื้อหาในบทที่ 6,7,8, และ 9 ส่วนที่เกินนี้เหมาะสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาโท และ วิศวกรโยธาที่ทำงานทางด้านวิศวกรรมปฐมพี
บทที่ 1 กำเนิดดิน
การกำเนิดดิน
ขบวนการกำเนิดดิน
ชนิดของดินแยกตามกำเนิดของดิน
ลักษณะของดินแยกตามการกำเนิดและพฤติกรรมทางด้านวิศวกรรม
น้ำในดิน
กำเนิดของชั้นดินกรุงเทพฯและบริเวณใกล้เคียง
เอกสารอ้างอิง
บทที่ 2 คุณสมบัติของดินโดยทั่วไป
สมบัติพื้นฐาน
ความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประกอบ
สภาวะความหนาแน่นของดินเม็ดหยาบ
สมบัติทางด้านวิศวกรรม
บทที่ 3 การจำแนกดินและบ่งลักษณะดินสำหรับงานทางด้านวิศวกรรม
จุดประสงค์ของการจำแนกดินและประโยชน์ที่ได้รับ
ขั้นตอนในการจำแนกดิน
การจำแนกดินด้วยตาเปล่า (Visual Soil Classification)
การจำแนกดินสำหรับงานทางด้านวิศวกรรม
การบ่งลักษณะของดินเพื่องานทางด้านวิศวกรรม
บทที่ 4 หน่วยแรงในมวลดิน
หลักการของหน่วยแรง
หน่วยแรงในมวลดิน
หน่วยแรงเนื่องจากน้ำหนักของดินทับถม
หน่วยแรงเนื่องจากแรงกระทำภายนอก
วงกลมของมอร์
p-q ไดอะแกรม และทางเดินของหน่วยแรงของ MIT
กฎการวิบัติของมวลดินของ Mohr และ Coulomb
บทที่ 5 การไหลซึมของน้ำผ่านดิน
กฎการไหลซึมของน้ำผ่านดิน
สัมประสิทธิ์ของกานซึม
ตาข่ายการไหล (Flow-Net)
แรงซึมผ่านต่อหน่วยปริมาตร
บทที่ 6 หน่วยแรง-ความเครียด และกำลังรับแรงเฉือนดินเม็ดหยาบ
กฎของ Mohr และ Coulombe สำหรับดินเม็ดหยาบและดินร่วน
สมบัติของดินร่วนและดินเม็ดหยาบที่ใช้งานทางด้านวิศวกรรมและวิธีวัด
พฤติกรรมของดินเม็ดหยาบทางด้านความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยแรงความเครียดและกำลังรับแรงเฉือน
บทที่ 7 หน่วนแรง-ความเครียดและกำลังรับแรงเฉือนของดินเหนียว
การวัดความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยแรงและความเคียดและกำลังรับแรงเฉือน
ตัวประกอบที่มีผลกระทบต่อกำลังรับแรงเฉือนในสภาพไม่ระบายน้ำ
ครีพแบบไม่ระบายน้ำ
ตัวประกอบที่มีผลกระทบต่อการอัดตัวคายน้ำแบบ 1 มิติ
การอัดตัวครั้งที่สอง
ข้อเสนอแนะวิธีการหาพารามิเตอร์ในการออกแบบงานทางด้านวิศวกรรมปฐพในชั้นดินกรุงเทพฯ
บทที่ 8 การประมาณการทรุดตัว
ชนิดและลักษณะของการทรุดตัว
การคาดคะเนการทรุดตัวสำหรับดินเม็ดหยาบ
การคาดคะเนการทรุดตัวของดินเหนียว
ประสบการณ์การวิเคราะห์การทรุดตัวของคันดินสร้างบนดินอ่อนกรุงเทพฯ
บทที่ 9 การคาดคะเนอัตราการทรุดตัว
ขบวนการอัดตัวคายน้ำในดินเหนียว
ความจำเป็นในการคาดคะเนอัตราการทรุดตัว
ทฤษฎีสำหรับคาดคะเนอัตราการทรุดตัว