หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่ได้รับรางวัล ของโครงการส่งเสริมการสร้างตำรามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นความพยายามของฟรอยด์ที่ได้นำเอาทฤษฎีสังคม เพื่ออธิบายลักษณะปรากฎการณ์และพัฒนาการทางสังคมวัฒนธรรมในแง่มุมที่แตกต่างกันออกไปในงานเขียนเหล่านี้เราสามารถค้บพบจินตนาการที่กว้างไกลและความกล้าหาญของฟรอยที่พยายามเชื่อมโยงประสบการณ์ส่วนตัวและสิ่งที่ท่านค้นพบจากการรักษาผู้ป่วยไปสู่การอธิบายปรากฎการณ์ทางสังคมและวัฒนธรรม
ผู้เขียนได้กล่าวถึงหนังสือเล่มนี้ไว้ใน”บทนำ” ตอนหนึ่งว่า “...เป็นความพยายามที่จะนำเสนอทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ในรูปแบบที่เป็นทฤษฎีสังคม หนังสือเล่มนี้เสนอว่า นับตั้งแต่ที่ฟรอยด์เขียน Interpretation of Dreams หรือ “การแปลความฝัน” เสร็จสิ้นลง เมื่อปี ค.ศ.1899 เป็นต้นมา งานเขียนชิ้นสำคัญ ๆ ของฟรอยด์แทบทุกชิ้นไม่ว่าจะเป็น Totem and Taboo Group Psychology and the Analysis of the Ego, The Future of and illusion, Civilization and lts Discontents ไปจนถึง Moses and Monotheism ผลงานเหล่านี้ทั้งหมดล้วนแล้วแต่เป็นความพยายามของฟรอยด์ที่ได้นำเอาทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของท่านมาเป็นพื้นฐานในการสร้างทฤษฎีสังคม เพื่ออธิบายลักษณะปรากฏการณ์และพัฒนาการทางสังคมวัฒนธรรมในแง่มุมที่แตกต่างกันออกไป ในงานเขียนเหล่านี้ เราสามารถค้นพบจินตนาการที่กว้างไกลและความกล้าหาญของฟรอยด์ที่พยายามเชื่องโยงประสบการณ์ส่วนตัว และสิ่งที่ท่านค้นพบจากการรักษาผู้ป่วยไปสู่การอธิบายปรากฏการณ์ทางสังคมวัฒนธรรม
บทที่ 1 ซิกมันด์ ฟรอยด์: ชีวิตและผลงาน
บทที่ 2 จิตวิเคราะห์และทฤษฎีสังคม
บทที่ 3 อารยธรรมและความปรารถนา
บทที่ 4 จาค ลากอง และเฟมินิสม์