สังคมสงเคราะห์กลุ่มชน เนื้อหาสาระของหนังสือสังคมสงเคราะห์กลุ่มชนเล่มนี้ ประกอบด้วยความรู้พื้นฐาน เกี่ยวกับกลุ่ม โดยเฉพาะพลวัตของกลุ่มเล็ก อันได้แก่ การก่อกำเนิด ความหมาย โครงสร้าง กระบวนการพัฒนา การของกลุ่ม และแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับกลุ่ม หลักวิชาสังคมสงเคราะห์ กลุ่มชน ที่สำคัญ อันได้แก่ วัตถุประสงค์หลักการกระบวนการ รูปแบบและกิจกรรมในงานของนักสังคมสงเคราะห์กลุ่มชน ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ต่อนักสังคมสงเคราะห์ สหวิชาชีพ ผู้สนใจศึกษากลุ่ม และสนใจปฏิบัติงานกับกลุ่มคนประเภทต่าง ๆ
สารบัญ
บทที่ 1 สารัตถะของการสังคมสงเคราะห์กลุ่มชน
1.1 พัฒนาการของสังคมสงเคราะห์กลุ่มชน
1.2 ความหมายของสังคมสงเคราะห์กลุ่มชน
1.3 ค่านิยมในการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์กลุ่มชน
1.4 ปรัชญาและความเชื่อของสังคมสงเคราะห์กลุ่มชน
1.5 วัตถุประสงค์ของสังคมสงเคราะห์กลุ่มชน
1.6 ประโยชน์และข้อจำกัดของสังคมสงเคราะห์กลุ่มชน
1.7 หลักการสังคมสงเคราะห์กลุ่มชน
1.8 กระบวนการสังคมสงเคราะห์กลุ่มชน
1.9 รูปแบบสังคมสงเคราะห์กลุ่มชน
1.10 กิจกรรมในงานสังคมสงเคราะห์กลุ่มชน
บทที่ 2 ความรู้ที่จำเป็นสำหรับนักสังคมสงเคราะห์กลุ่มชน
2.1 ความรู้ทั่วไป
2.1.1 ทฤษฎีทางสังคม
2.1.2 ความรู้เกี่ยวกับระบบสวัสดิการสังคมและกิจกรรม กลุ่ม
2.2 ความรู้เกี่ยวกับพลวัตกลุ่ม
2.2.1 พลวัตกลุ่ม :ประวัติ ความหมาย และขอบเขต
2.2.2 กลุ่ม : การก่อกำเนิด
2.2.3 ความหมาย ความสำคัญ คุณลักษณะและ ประเภทของกลุ่ม
2.2.4 กลุ่มเล็ก : กลุ่มในบริบทของงานสังคมสงเคราะห์กลุ่มชน
1) ความหมาย
2) โครงสร้างของกลุ่ม
3) กระบวนการกลุ่ม
4) พัฒนาการของกลุ่ม
2.2.5 แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวกับกลุ่ม
1) ทฤษฎีสนาม
2) ทฤษฎีปฏิสัมพันธ์
3) ทฤษฏีการแลกเปลี่ยนทางสังคม
4) วิธีการสังคมมิติ
5) ทฤษฎีจิตวิเคราะห์
6) ทฤษฎีระบบทั่วไป
7) แนวคิดเชิงนิเวศ
8) แนวคิดระบบอุปถัมภ์
ฯลฯ