วิชาสัทศาสตร์และภาษาศาสตร์มีหลักการทั่วไปที่ใช้บรรยายภาษาต่างๆได้ทุกภาษาที่มีการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา เนื้อหาในตำราเล่มนี้ครอบคลุมวิชาต่างๆถึง 4 วิชา ได้แก่ ภาษาศาสตร์ทั่วไป สัทศาสตร์ทั้งสามสาขา ภาษาศาสตร์ประยุกต์ ตลอดจนวิชาเสียงและระบบเสียงในภาษาไทย การเขียนตำราเล่มนี้นอกจากจะให้ความรู้แก่นักศึกษาและผู้ที่อยู่ในแวดวงทางด้านภาษาและภาษาศาสตร์แล้ว ผู้เขียนยังมีจุดประสงค์ที่จะให้ความรู้แก่บุคลากรทั่วไปในสังคมด้วย เนื่องจากภาษาซึ่งเริ่มปรากฏตั้งแต่ในช่วงปีแรกของชีวิตเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตมนุษย์ดังหัวข้อสรุปเนื้อหาที่แสดงไว้บนปก ผู้ที่มิได้อยู่ในแวดวงวิชาการด้านภาษาและภาษาศาสตร์ สามารถใช้ประโยชน์จากเนื้อหาในบทที่ 1 ถึงบทที่ 6 ได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะผู้ที่เป็นพ่อ-แม่ ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นครูในโรงเรียนอนุบาล หรือผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับเด็กควรให้ความสนใจในบทที่ 2-3 และบทที่ 6 เป็นพิเศษ ส่วนบทที่ 7-8-9 นั้น เป็นเรื่องทางวิชาการที่สัมพันธ์กับการคิดหาวิธีการบรรยายภาษาทั้งสิ้นซึ่งเป็นส่วนช่วยทำให้รู้จักคิดวิเคราะห์ด้วยเหตุผลเชิงทฤษฎีต่างๆที่นักภาษาศาสตร์ได้เสนอไว้
สารบัญ
บทที่ 1 การศึกษาภาษา
บทที่ 2 สรีรสัทศาสตร์
บทที่ 3 กลสัทศาสตร์และโสตสัทศาสตร์
บทที่ 4 หลักการพื้นฐานของภาษาศาสตร์แนวใหม่
บทที่ 5 ขอบข่ายของการศึกษาภาษาศาสตร์
บทที่ 6 ลักษณะ สหศาสตร์ ของภาษาศาสตร์
บทที่ 7 ทฤษฎีสัทวิทยากับเสียงและระบบเสียงภาษาไทย
บทที่ 8 ระบบรูปคำและโครงสร้างประโยค
บทที่ 9 ความหมาย สัมพันธสารและวัจนปฏิบัติศาสตร์
เอกสารอ้างอิงและบรรณานุกรม