ตำราเล่มนี้แบ่งออกเป็น 2 ภาค คือภาคทั่วไปและภาคเฉพาะ ในส่วนที่เกี่ยวกับภาคทั่วไป เนื้อหาเกี่ยวข้องกับข้อความคิดพื้นฐานที่จำเป็นต่อการศึกษาวิชานิติศาสตร์ เป็นการศึกษาถึงประวัติความเป็นมาของสถาบันสังคมตั้งแต่ครอบครัวสู่รัฐสมัยใหม่และวิวัฒนาการของแบบแผนที่ใช้ควบคุมความประพฤติของสมาชิกโดยเริ่มจากกฎหมายประเพณีมาสู่กฎหมายสมัยใหม่ ส่วนที่สอง ได้ศึกษาเกี่ยวกับเนื้อหาสาระของกฎหมายต่างๆ เช่นกฎหมายแพ่ง กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายขัดกัน เป็นต้น โดยผู้เขียนได้เปรียบเทียบกฎหมายไทยกับระบบกฎหมายที่สำคัญคือระบบกฎหมายภาคพื้นยุโรปและกฎหมายอังกฤษ เพื่อจะได้เป็นประโยชน์สำหรับการศึกษาค้นคว้าต่อไป
สารบัญ
บทที่ 1 สถาบันทางสังคม : จากครอบครัวสู่รัฐ
บทที่ 2 บ่อเกิดของกฎหมาย
บทที่ 3 การแบ่งประเภทของกฎหมาย
บทที่ 4 ขอบเขตการบังคับใช้กฎหมาย
บทที่ 5 การตีความกฎหมาย
บทที่ 6 ธรรมเนียมปฏิบัติทางกฎหมายของซีวิลลอว์และคอมมอนลอว์
บทที่ 7 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายแพ่ง : 1
บทที่ 8 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายแพ่ง : 2
บทที่ 9 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมายรัฐธรรมนูญ
บทที่ 10 กฎหมายขัดกัน
บทที่ 11 กฎหมายระหว่างประเทศ
บทสรุปและข้อคิดเห็น