หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือตำราที่ได้รับรางวัลขั้นดีมาก จากโครงการส่งเสริมการสร้างตำรา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้เขียนได้ใช้ทฤษฎีการคลังและทฤษฎีเศรษฐศาสตร์เป็นแนวการเขียนเนื้อหาการคลังโดยทั่วไปและได้แทรกแนวความคิดและการวิเคราะห์ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศไทยประกอบการอธิบาย นับเป็นตำราการคลังที่ได้รับความนิยมแพร่หลายเล่มหนึ่ง นอกจากจะเหมาะสำหรับนักศึกษาวิชาการคลังแล้ว ยังเหมาะสำหรับผู้สนใจโดยทั่วไปด้วย โดยเน้นเรื่องเกี่ยวกับด้านการจัดสรรและการกระจายการใช้ทรัพยากรของภาครัฐบาล โดยแบ่งเนื้อหาออกเป็นสามตอนด้วยกัน กล่าวคือ ตอนที่หนึ่ง มีด้วยกัน 7 บท กล่าวถึงเรื่องทฤษฎีและการจัดสรรสินค้าและบริการที่มีลักษณะเป็นสินค้าเอกชน ตอนที่สอง เป็นส่วนที่ว่าด้วยรายได้ของรัฐบาล มีด้วยกัน 17 บท กล่าวถึงทฤษฎีเกี่ยวกับภาษีอากรโดยทั่วไป และรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีอากรบางประเภทในประเทศไทย ตอนที่สาม มีด้วยกัน 7 บท กล่าวถึงการใช้จ่ายสาธารณะโดยทั่วไปและปัญหาหนี้สาธารณะของรัฐบาลไทย ในการจัดพิมพ์ครั้งที่ 8 นี้ ได้เขียนเรื่องการแก้ปัญหาหนี้กองทุนฟื้นฟูและการพัฒนาสถาบันการเงินเพิ่มในบทที่ 29 และเรื่องการแก้ปัญหาหนี้ต่างประเทศในบทที่ 30 ส่วนในบทที่ 31 ได้เพิ่มข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับการปกครองส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น
สารบัญ
บทที่ 1 ความเบื้องต้น
บทที่ 2 หน้าที่ในทางเศรษฐกิจของรัฐบาล
บทที่ 3 ทฤษฎีสินค้าสาธารณะ
บทที่ 4 การจัดสรรและการกระจายสินค้าสาธารณะ
บทที่ 5 การจัดสรรและการกระจายสินค้าเอกชน
บทที่ 6 การจัดสรรสินค้าลักษณะผสม
บทที่ 7 ปัญหาผลกระทบต่อบุคคลอื่น
บทที่ 8 รายได้ของรัฐบาล
บทที่ 9 ความรู้ในเรื่องภาษีโดยทั่วไป
บทที่ 10 องค์ประกอบของระบบภาษี
บทที่ 11 ผลกระทบโดยทั่วไปของภาษี
บทที่ 12 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
บทที่ 13 ภาระของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
บทที่ 14 ภาษีเงินได้นิติบุคคล
บทที่ 15 ภาระของภาษีเงินได้นิติบุคคล
ฯลฯ