หนังสือเล่มนี้ใช้ประกอบการเรียนการสอนสำหรับนักศึกษาสังคมสงเคราะห์ทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโท และประชาชนทั่วไปที่สนใจในการทำงานกับชุมชน การสังคมสงเคราะห์ชุมชนเป็นองค์ความรู้ที่ประกอบด้วยหลักการ วิธีการ และกระบวนการทำงาน ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสมในสังคมยุคโลกาภิวัฒน์ และเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งของนักสังคมสงเคราะห์วิชาชีพ ที่นำมาใช้ในการปลุกจิตสำนึกของประชาชนให้เรียนรู้ถึงวิถีแห่งการพึ่งตนเอง ซึ่งเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคม ทำให้ชุมชนเข้มแข็ง และประชาชนเรียนรู้การปรับตัวและเตรียมพร้อมในการดำรงชีวิตอยู่ในโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้อย่างเหมาะสมและมีคุณภาพแห่งชีวิต
สารบัญ
บทนำ การสังคมสงเคราะห์ชุมชน : มรรควิธีสู่ชุมชนเข้มแข็ง
บทที่ 1 ขอบเขตของงานสังคมสงเคราะห์
บทที่ 2 ชุมชนเข้มแข็ง
บทที่ 3 การประยุกต์แนวคิดและทฤษฎีในงานสังคมสงเคราะห์ชุมชน
บทที่ 4 มรรควิธีสู่ชุมชนเข้มแข็ง : การใช้วิธีการสังคมสงเคราะห์ชุมชน
บทที่ 5 รูปแบบการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ชุมชน
บทที่ 6 บทบาทของนักสังคมสงเคราะห์ชุมชน
บทที่ 7 แนวโน้มของการสังคมสงเคราะห์ชุมชน
บทที่ 8 บทสรุป
ภาคผนวก
บรรณานุกรม
ดร.ทัศนีย์ (ไทยาภิรมย์) ลักขณาภิชนชัช
- สังคมสงเคราะห์ศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยม); สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; Post-Graduate Diploma in Social Policy and Administration, University College of Swansea, U.K.; Ph.D. in Social Psychology, Bucharest University, Romania
- ปัจจุบันเป็นรองศาสตราจารย์, ผู้อำนวยการโครงการปริญญาโทการบริหารและนโยบายสวัสดิการสังคมศึกษา กรรมการอำนวยการสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ กรรมการสมาคมส่งเสริมเอกลักษณ์ของชาติ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาชุมชนเมือง สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เคยเป็นนักสังคมสงเคราะห์ประจำสำนักสวัสดิการสังคม กรุงเทพมหานคร (2513-2523) อนุกรรมการวางแผนงานด้านพัฒนาชุมชนและเสริมสร้างคุณภาพชีวิตสภากรุงเทพมหานคร (2533)