หนังสือเล่มนี้มีความมุ่งหมายที่จะเสนอภาพรวมของวรรณคดีสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยชี้ความสืบเนื่องของโลกทัศน์จากวรรณคดีสมัยอยุธยา ในแง่ความสัมพันธ์ของมนุษย์กับธรรมชาติปัญหาและศักยภาพของมนุษย์ อีกทั้งการปรับเปลี่ยนที่เป็นนวลักษณ์ตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นของการสถาปนาราชอาณาจักรจนถึงการยืนหยัดต่อกระแสวัฒนธรรมตะวันตกด้วยความเชื่อมั่นในรากทางวัฒนธรรมอันแข็งแกร่งในช่วงแผ่นดินที่สามของราชธานี นับเป็นความก้าวหน้าทางวิชาการในการศึกษาวรรณคดีเชิงประวัติที่ชี้สายสัมพันธ์ระหว่างยุคและการสร้างสรรค์ขึ้นใหม่และให้คำตอบได้หนักแน่นว่า งานเหล่านี้สื่อความหมายข้ามยุคสมัยมาด้วยคุณลักษณะภายในทั้งเชิงสุนทรียะ และเชิงจริยธรรมอันไม่ขึ้นแก่กาลและบริบทได้อย่างไร
สารบัญ
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 กระบวนการสร้างเสพวรรณคดีกับบริบททางวัฒนธรรม
บทที่ 3 การสืบทอดและปรับเปลี่ยนโลกทรรศน์จากวรรณคดีสมัยอยุธยา
บทที่ 4 รูปแบบและเนื้อหาของวรรณคดีสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
บทที่ 5 สรุป
บรรณานุกรม
คำอธิบายภาพและที่มาของภาพ
ประวัติผู้เขียน