หนังสือเล่มนี้ปลุกเร้าให้มีการเอาใจใส่ต่อการเติบโตของชั้นบนสุดของเศรษฐกิจที่ไม่มีประสิทธิภาพในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเชิญชวนให้ผู้อ่านขบคิดเกี่ยวกับบรรดาปัญหาที่สิ่งนี้ได้ก่อให้เกิดขึ้นแก่การพัฒนาเศรษฐกิจในอนาคต ผู้เขียนได้ให้เหตุผลว่าความล้าหลังทางเทคโนโลยี การแทรกแซงที่มีคุณภาพต่ำของรัฐบาล และการกีดกันพวกที่สืบสายโลหิตชาวจีน ได้กีดกั้นทุนนิยมจากการเป็นหัวหอกที่จะนำการพัฒนา และสิ่งที่ได้ปรากฏออกมาก็คือทุนนิยมชนิดใหม่ที่เป็นทุนนิยมเทียมซึ่งแตกต่างอย่างมากจากทุนนิยมในญี่ปุ่นและในเอเชียตะวันตกในข้อสรุปของผู้เขียน เขาได้เสนอข้อแนะนำเพื่อที่จะก่อให้เกิดระบบทุนนิยมที่มีการพลวัต ในขณะที่เขาก็ยอมรับข้อเท็จจริงที่ว่า อุปสรรคในการนำไปปฏิบัตินั้นมีอยู่อันเนื่องมากจากภาวะทางาสังคมและการเมืองในปัจจุบันในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สารบัญ
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 ทุนต่างชาติ
บทที่ 3 ทุนชาวจีน
บทที่ 4 ผู้แสวงหาส่วนเกินและนักเก็งกำไร
บทที่ 5 การทำให้เป็นอุตสาหกรรมโดยปราศจากการพัฒนา
บทที่ 6 บทสรุป
บทที่ภาคผนวก
รายชื่อเมือง
บรรณานุกรม
โยะชิฮะระ คุนิโอะ (Yoshihara Kunio)
ผู้เขียนเป็นศาสตราจารย์ทางเศรษฐศาสตร์ Center for Southeast Asian Studies มหาวิทยาลัยเกียวโต เป็นผู้เขียนหนังสือเรื่อง Sogo Shosha : The Vanguard of the Japanese Economy (1982) และ Philippine Industrialization : Foreign and Domestic Capital (1985)
คณะผู้แปล
รัศมิ์ดารา ขันติกุล
- M.A. (Econ.) San Diego College, U.S.A. เป็นผู้บรรยายวิชาเศรษฐกิจประเทศญี่ปุ่นและวิชาเศรษฐกิจประเทศอาเซียน
- ปัจจุบันเป็นรองผู้จัดการโรงเรียนพาณิชยการราชดำเนิน
ชูศรี มณีพฤกษ์
- รัฐศาสตร์บัณฑิต (สาขาการคลัง) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, M.A. (Econ.) Southern Methodist University U.S.A. เป็นผู้บรรยายวิชาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทยและประวัติแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์
- ปัจจุบันเป็นผู้อำนวยการโครงการ พัฒนาการเรียนการสอนและประเมินผล (พสป.) และรองศาสตราจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พรพิมล สันติมณีรัตน์
M.A. (Econ.) University of the Philippines เป็นผู้บรรยายวิชาเศรษฐศาสตร์การเงิน, เศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศอาเซียน
- ปัจจุบันเป็นรองคณบดีฝ่ายบริหารและรองศาสตราจารย์ ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
บรรณาธิการแปล
สุกัญญา นิธังกร
- Ph.D. Southern Methodist University, U.S.A. เคยได้รับเชิญเป็น Visiting Research Fellow ที่ Center for Southeast Asian Studies มหาวิทยาลัยเกียวโต ปี 1984-85, 1991-92 และ 1999-2000.
- ปัจจุบันเป็นคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์และรองศาสตราจารย์ ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์