สถานะของสัญญาในปัจจุบันที่อยู่ในรูปแบบของสัญญาสำเร็จรูปหรือสัญญามาตรฐาน ก่อให้เกิดปัญหาข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม ที่รัฐควรจะกำหนดให้มีกลไกทางกฎหมายเพื่อช่วยคุ้มครองคู่สัญญาฝ่ายที่เสียเปรียบ เนื่องจากมีอำนาจต่อรองทางเศรษฐกิจที่ด้อยกว่ามาก เพื่อให้เสรีภาพในการทำสัญญากลับคืนมาในลักษณะที่สอดคล้องกับหลักทั่วไปในการทำสัญญาของเอกชน โดยใช้หลักความเท่าเทียมกันและความยุติธรรม เพื่อให้บุคคลสามารถเข้ามาทำสัญญาด้วยความมั่นใจว่า ผลประโยชน์ของบุคคลดังกล่าวจะไม่ถูกเบียดบังโดยความเห็นแก่ได้ของคู่สัญญาที่มีอำนาจต่อรองในทางเศรษฐกิจที่เหนือกว่า (หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือตำราที่ได้รับรางวัล โครงการส่งเสริมการสร้างตำรา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ )
สารบัญ
บทที่ 1 สถานะของสัญญาในอดีต
บทที่ 2 บทบาทความสำคัญของเจตนาในกฎหมายสัญญา
บทที่ 3 สถานะใหม่ของสัญญาในปัจจุบัน
บทที่ 4 มาตรการป้องกันและควบคุมข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม
บทที่ 5 ลักษณะของกฎหมายสัญญาที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ดร.ดาราพร ถิระวัฒน์
- นิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมดี) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, เนติบัณฑิตไทย, Docteur en droit Prive' (Mention tres bien) Aix-Marseille III, ฝรั่งเศส
- กรรมการร่าง พ.ร.บ. ข้อสัญญาไม่เป็นธรรมของกระทรวงยุติธรรม, กรรมการคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค, ผู้อำนวยการจัดทำคำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เรียงมาตรา, อดีตหัวหน้าภาควิชากฎหมายแพ่ง, อดีตผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิชาการ, อดีตผู้อำนวยการบัณฑิตศึกษา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- เป็นผู้บรรยายกฎหมายหนี้: หลักทั่วไป, กฎหมายนิติกรรม-สัญญา กฎหมายประกันภัยระดับปริญญาตรี; วิชารากฐานกฎหมายแพ่งพาณิชย์ ๑,๒ และวิชาปัญหาชั้นสูงทางกฎหมายแพ่ง ระดับปริญญาโท คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, วิชากฎหมายสัญญา-ละเมิดชั้นสูง ระดับปริญญาโท คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง และเป็นอาจารย์พิเศษสำนักอบรมเนติบัณฑิตยสภา
- ปัจจุบันเป็นรองศาสตราจารย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์