วิชาวงจรไฟฟ้ากระแสสลับเป็นวิชาหลักที่นักศึกษาสาขาช่างไฟฟ้าและช่างอิเล็กทรอนิกส์จะต้องศึกษาในหมวดวิชาบังคับ เพื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาในงานวิศวกรรมขั้นสูง ประกอบกับเป็นวิชาที่มีเนื้อหาค่อนข้างซับซ้อน เนื่องจากปริมาณต่าง ทางไฟฟ้ากระแสสลับเป็นปริมาณทางเวกเตอร์ ดังนั้นเพื่อให้กระบวนการการศึกษามีประสิทธิภาพและสัมฤทธิ์ผล ผู้เขียนจึงได้เรียบเรียบหน้งสือ วงจรไฟฟ้ากระแสสลับ ขึ้นมาประกอบการศึกษา โดยเฉพาะในบทที่ 3, บทที่ 5 ถึงบทที่ 7 ได้เขียนวิธีการวิเคราะห์วงจรตัวต้านทาน-ตัวเหนี่ยวนำ-ตัวเก็บประจุ ที่ต่อกันในลักษณะต่าง ๆ ควบคู่กันไประหว่าง วิธีขอบเขตเวลา (time domain) กับวิธีขอบเขตความถี่ (frequency domain) ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ศึกษามีแนวคิดและความเข้าใจถึงพฤติกรรมของวงจรได้อย่างกว้างขวางยิ่งขึ้นอีกด้วย
บทที่ 1 เวกเตอร์และจำนวนเชิงซ้อน
บทที่ 2 การกำเนิดแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับและการวิเคราะห์รูปคลื่น
บทที่ 3 ตัวต้านทาน ตัวเหนี่ยวนำ และตัวเก็บประจุในวงจรไฟฟ้ากระกระแสสลับ
บทที่ 4 อิมพีแดนซ์และแอดมิตเตนซ์
บทที่ 5 วงจรตัวต้านทานตัวเหนี่ยวนำ
บทที่ 6 วงจรตัวต้านทาน-ตัวเก็บประจุ
บทที่ 7 วงจรตัวต้านทาน-ตัวเหนี่ยวนำ-ตัวเก็บประจุ
บทที่ 8 การวิเคราะห์วงจรตัวต้านทาน-ตัวเหนี่ยวนำตัวเก็บประจุแบบผสม
บทที่ 9 กำลังไฟฟ้ากระแสสลับและการปรับปรุงเพาเวอร์แฟกเตอร์
บทที่ 10 วงจรเรโซแนนซ์
บทที่ 11 วงจรแปลงเดลต้า-สตาร์ และวงจรบริดจ์
บทที่ 12 ทฤษฎีวงจรตาข่าย 1
บทที่ 13 ทฤษฎีวงจรตาข่าย 2
บทที่ 14 ทฤษฎีวงจรตาข่าย 3
บทที่ 15 ทฤษฎีวงจรตาข่าย 4
บทที่ 16 วงจรไฟฟ้า 3 เฟส
บทที่ 17 กำลังไฟฟ้าและการวัดกำลังไฟฟ้าในระบบ 3 เฟส