หนังสือเล่มนี้ได้แนะนำวิธีการเขียนโปรแกรมสำหรับประมวลผลข้อมูลชนิดต่าง ๆ อย่างละเอียด โดยมีโปรแกรมประกอบคำอธิบายทุกหัวข้อ ซึ่งต้องใช้โปรแกรมจำนวนมากถึง 211 โปรแกรม เพราะการศึกษาเนื้อหาพร้อมกับโปรแกรมจะช่วยให้เราเข้าใจเรื่องของข้อมูลและเทคนิคการเขียนโปรแกรมได้อย่างรวดเร็วและลึกซึ้ง ข้อมูลชนิดต่าง ๆที่กล่าวถึงนี้ประกอบด้วย ข้อมูลชนิดต่าง ๆที่กล่าวนี้ประกอบด้วย ข้อมูลแบบซิมเปิล สตริง อาร์เรย์ เซต เรคอร์ด ไฟล์ พอยน์เตอร์ คิว สแตก ลิงค์ลิสต์ และทรี ในส่วนที่เกี่ยวกับโปรแกรมได้กล่าวถึงหลักการทำงานเบื้องต้น ได้แก่ การทำตามลำดับ การทำแบบลูป และการเลือกทำ
สำหรับทางด้านเทคนิคการเขียนโปรแกรมได้แนะนำเรื่องการหาผลสรุป รีเคอร์ชัน การเรียงลำดับ การค้นหา การติดต่อกับอุปกรณ์อินพุต/เอาต์พุต การสร้างจอภาพแบบต่าง ๆ เพื่อความสะดวกในการรับข้อมูล การสร้างและการใช้โปรแกรมนั้นได้แยกเป็นส่วนย่อยแบบโพรซีเยอร์และฟังก์ชัน ซึ่งช่วยให้เราปรับปรุงโปรแกรมได้ง่ายและรวดเร็ว
นอกจากนี้ยังกล่าวถึงเรื่องที่ได้รับความสนใจมากในปัจจุบันคือ การสร้างภาพกราฟิกส์ และการเขียนโปรแกรมแบบ OOP อย่างละเอียดอีกด้วย
คำนำ
บทที่ 1 แนะนำภาษาปาสคาล
บทที่ 2 วิธีสร้างโปรแกรมด้วยเทอร์โบปาสคาล
บทที่ 3 ชื่อ
บทที่ 4 การนำข้อมูลออก
บทที่ 5 การรับข้อมูล
บทที่ 6 ลูปแบบ REPEAT
บทที่ 7 ลูปแบบ WHILE
บทที่ 8 ลูปแบบ FOR
บทที่ 9 การเลือกทำแบบ IF
บทที่ 10 การเลือกทำแบบ CASE
บทที่ 11 โพรซีเยอร์
บทที่ 12 ฟังก์ชัน
บทที่ 13 การหาผลสรุป
บทที่ 14 ยูนิต
บทที่ 15 ข้อมูลชนิดซิมเปิล
บทที่ 16 ข้อมูลชนิดสตริง
บทที่ 17 ข้อมูลชนิดอาร์เรย์
บทที่ 18 ข้อมูลชนิดเซต
บทที่ 19 ข้อมูลชนิดเรคอร์ด
บทที่ 20 ข้อมูลชนิดไฟล์
บทที่ 21 ข้อมูลชนิดพอยน์เตอร์
บทที่ 22 รีเคอร์ชัน
บทที่ 23 การเรียงลำดับและการค้นหา
บทที่ 24 ข้อมูลชนิดคิว
บทที่ 25 ข้อมูลชนิดสแตก
บทที่ 26 ข้อมูลชนิดลิงค์ลิสต์
บทที่ 27 ข้อมูลชนิดทรี
บทที่ 28 การติดต่อกับอินพุต/เอาต์พุต
บทที่ 29 การสร้างจอภาพแบบต่าง ๆ
บทที่ 30 กราฟิกส์
บทที่ 31 OOP (Object-Oriented Programming)
ภาคผนวก รหัส ASCII
บรรณานุกรม