ธุรกิจที่โดดเด่นในระดับปฏิวัติวงการของโลกจำนวนมาก ล้วนแต่เริ่มต้นจากการเลียนแบบ ดังที่ "แซม วอลตัน" ผู้ก่อตั้งห้างสรรพสินค้าวอลมาร์ต เคยกล่าวว่า "สิ่งที่ผมทำลงไป กว่าครึ่งเป็นการเลียนแบบคนอื่นทั้งสิ้น" ทำไมบางบริษัทเปิดตัวผลิตภัณฑ์หรือบริการไม่นานก็ถูกบริษัทคู่แข่งเลียนแบบได้ง่ายๆ ทำไมบางบริษัท ทั้งๆ ที่เริ่มต้นจากการเลียนแบบ แต่กลับสร้างเอกลักษณ์เฉพาะตัว จนคู่แข่งไล่ตามไม่ทัน
"เลียนแบบ แยบยล" เล่มนี้ ไม่ได้หยุดอยู่แค่ชี้ให้เห็นถึงความคิดสร้างสรรค์ของการเลียนแบบ แต่เจาะลงลึกถึงตรรกะของการเกิดความคิดสร้างสรรค์อย่างครบถ้วนรอบด้าน คุณจะได้เรียนรู้จากธุรกิจชั้นเลิศ ว่ามีธุรกิจใดเป็นต้นแบบ บริษัทที่ยิ่งใหญ่เหล่านั้นมีความเชี่ยวชาญในการเลียนแบบอย่างลึกซึ้งถึงแก่นอย่างไร เพื่อเพิ่มทักษะความสามารถในการเลียนแบบอย่างชาญฉลาดและมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งสามารถวิเคราะห์ความสำเร็จในการเลียนแบบอย่างเป็นระบบ ด้วยเครื่องมือการวิเคราะห์มูลค่าธุรกิจ P-VAR (Position, Value, Activities, Resources) การเลียนแบบ ไม่ใช่แค่การทำตามเพียงเปลือกนอก ซึ่งไม่ต่างอะไรกับลิงเลียนแบบคน แต่ต้องอาศัยภูมิปัญญา จึงจะประสบความสำเร็จ ได้รับการยอมรับไปทั่วโลก ว่าเหนือและดีกว่าต้นแบบ จนเป็นต้นแบบสำหรับธุรกิจรุ่นหลังต่อๆ ไป
บทนำ ปฏิทรรศน์ (Paradox) ของการเลียนแบบ
บทที่ 1 "ปริศนาของอัจฉริยะ" อุปลักษณ์กับนวัตกรรม
บทที่ 2 "แผงลอยริมทางของอินเดีย" สร้างแบบจำลองของแก่นหลักทางธุรกิจที่ควรเลียนแบบ
บทที่ 3 "เมื่อแมวดำปฏิวัติ" 4 องค์ประกอบกับ 5 ขั้นตอนปฏิบัติ
บทที่ 4 "เรื่องราวของสองร้านกาแฟ" ความคิดสร้างรรค์ที่เกิดจากการเลียนแบบ
บทที่ 5 "คุณครู 4 แบบ" ควรจะเลียนแบบใคร อย่างไรดี?
บทที่ 6 "Shu-Ha-Ri-" ก้าวข้ามช่องระหว่างตัวอย่างกับความเป็นจริง
บทที่ 7 "กับดัก" บริษัทที่ดูเหมือนว่าจะเลียนแบบได้ง่าย แต่ที่จริงแล้วไม่สามารถเลียนแบบได้เลย
บทที่ 8 "กลับหัวคิด" เลียนแบบด้วยการคิดกลับด้าน
บทที่ 9 "ธรรมเนียมปฏิบัติ" เลียนแบบวิธีเลียนแบบ