สภาพแวดล้อมของญี่ปุ่นในขณะนี้คือ สังคมซึ่งมีประชากรเด็กลดลง แต่มีผู้สูงวัยเพิ่มขึ้น ความต้องการที่หลากหลายของผู้บริโภค การถดถอย (Kuudouka) ของอุตสาหกรรมภายในประเทศ และสภาวะเงินฝืดที่รุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ภายใต้สภาวะเช่นนี้ ทำอย่างไรจึงจะสามารถใช้ทรัพยากรซึ่งมีอยู่อย่างจำกัดให้มีประสิทธิภาพ และลดปริมาณของเสียซึ่งสร้างภาระแก่สภาพแวดล้อมของโลกให้เหลือน้อยที่สุด และจะผลิตสินค้ากันอย่างไร สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นประเด็นปัญหาสำคัญของภาคธุรกิจ
เนื้อหาเกี่ยวกับ ระบบการผลิตแบบโตโยต้า (TOYOTA Production System) หรือ TPS ซึ่งประกอบด้วย 2 เสาหลักสำคัญ คือ Just In Time และ Automationโดยมีหลักการพื้นฐานคือ การขจัดความสูญเปล่า (Muda) ให้หมดสิ้นไป ด้วยการผลิตสิ่งที่จำเป็น ในเวลาที่จำเป็น เฉพาะที่จำเป็นเท่านั้นและเมื่อเกิดความผิดปกติขึ้น เครื่องจักรก็จะหยุดทำงานโดยอัตโนมัติ ทำให้ทราบถึงปัญหาและสามารถวางแผนปรับปรุงได้อย่างรวดเร็ว ส่งผลในการลดต้นทุนการผลิต และช่วยประหยัดพลังงาน รวมถึงช่วยรักษาสภาพแวดล้อมอีกด้วย
บทที่ 1 เนื้อแท้ของ Toyota Production System
บทที่ 2 การประกันคุณภาพ
บทที่ 3 การเฉลี่ยปริมาณงาน (Heijunka)
บทที่ 4 งานตามมาตรฐาน
บทที่ 5 ขจัด Muda
บทที่ 6 Automation (Jidouka)
บทที่ 7 คัมบัง (Kamban)
บทที่ 8 กลยุทธ์ Cost Down
- เอกสารอ้างอิง
- ดัชนี