การสั่นสะเทือนในเครื่องจักรกลนั้น ถือได้ว่าเป็นภาระอีกชนิดหนึ่งของชิ้นส่วนในระบบ ซึ่งจะทำให้ชิ้นส่วนภายในเครื่องจักรกลรับภาระมากขึ้น เป็นสาเหตุที่จะทำให้เครื่องจักรกลนั้นมีอายุการใช้งานที่ลดลง ดังนั้นการหาวิธีลดการสั่นสะเทือนในเครื่องจักรกล โดยการใช้เครื่องมือวัดการสั่นสะเทือนเพื่อที่จะวิเคราะห์หาปัญหา และเพื่อเป็นการติดตามสภาพของเครื่องจักรกลในขณะที่กำลังทำงาน ทำให้สามารถป้องกันการเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับเครื่องจักรกลได้ และเป็นการเพิ่มความมั่งคงและความน่าเชื่อถือให้กับระบบการผลิตในเชิงอุตสาหกรรม ซึ่งทำให้หน่วยงานสามารถลดค่าใช้จ่ายในด้านงานบำรุงรักษาเครื่องจักรกลลงได้
บทที่ 1 หลักการบำรุงรักษาเบื้องต้น
บทที่ 2 การบำรุงรักษาแบบพยากรณ์ตามภาพ
บทที่ 3 ความสัมพันธ์ของการบำรุงรักษากับการวิเคราะการสั่นสะเทือน
บทที่ 4 ทฤษฏีการสั่นสะเทือนเบื้องต้น
บทที่ 5 การแปลงสัญญาณฟูเรียร์แบบเร็ว
บทที่ 6 หัววัดการสั่นสะเทือน
บทที่ 7 เครื่องมือวัดการสั่นสะเทือนและซอฟต์แวร์
บทที่ 8 เทคนิคการวัดและมาตรฐานการสั่นสะเทือน
บทที่ 9 เทคนิคการวิเคราะห์การสั่นสะเทือน
บทที่ 10 การวิเคราะห์ความบกพร่องของเครื่องจักรกลและกรณีศึกษา
บทที่ 11 การปรับดุลยภาพในเครื่องจักกล