ปัจจุบันประเทศไทยยังต้องนำเข้าเครื่องจักรกลและอะไหล่หรือชิ้นส่วนต่างๆ จากต่างประเทศเป็นจำนวนมากปีๆ หนึ่งนับแสนล้านบาท ถึงแม้เราจะมีความสามารถสร้างเครื่องจักรกลและอุปกรณ์ให้กับภาคอุตสาหกรรมในประเทศได้ก็ตาม แต่ยังมีปริมาณค่อนข้างน้อยมากเมื่อเทียบกับตัวเลขการนำเข้าจากต่างประเทศ อาจจะกล่าวได้ว่าอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรกลของไทยยังขาดความสามารถในการพัฒนาอยู่มาก ในขณะที่มีความต้องการเครื่องจักรเพิ่มขึ้นตลอด โดยเฉพาะเครื่องจักรกลที่ใช้สำหรับภาคการผลิต อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ ดังนั้นเราจึงควรให้ความสำคัญกับการซ่อมบำรุงเครื่องจักรกลให้มากกว่าการเน้นการผลิตเครื่องจักรกลอย่างเต็มรูปแบบ
มีเนื้อหาของการจัดการงานซ่อมบำรุง เช่น การหาความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของเครื่องจักรตลอดการใช้งาน หรือ LCC (Life Cycle Cost) เทคนิคการวิเคราะห์ปัญหาแบบ PM และกรณีศึกษาโรงงานที่ประสบความสำเร็จในการบริหารงานซ่อมบำรุงด้วยเทคนิค TPM ในประเทศญี่ปุ่น เพื่อเป็นแนวทางพัฒนาระบบงานซ่อมบำรุงในโรงงานอุตสาหกรรมของประเทศไทยต่อไป
บทที่ 1 ฐานความรู้งานซ่อมบำรุง
บทที่ 2 การบริหารอะไหล่สำหรับงานซ่อมบำรุง
บทที่ 3 การบริหารการผลิตแบบ JIT และ TPM
บทที่ 4 ความสัมพันธ์ระหว่าง TPM และ TQM
บทที่ 5 ข้อมูล : ปัจจัยสำคัญของงานซ่อมบำรุง
บทที่ 6 การประเมินผลการบำรุงรักษา
บทที่ 7 การหล่อลื่นกับงานซ่อมบำรุง
บทที่ 8 การกำจัดการสูญเปล่าจากเหตุขัดข้อง
บทที่ 9 การกำจัดเวลาสูญเปล่าจากการปรับตั้งเครื่อง
บทที่ 10 การกำจัดการสูญเปล่าจากการหยุดเล็กๆ น้อยๆ
...ฯลฯ...