ประเทศพม่าหรือเมียนมาร์ เป็นประเทศเพื่อนบ้านที่คนไทยรู้จักคุ้นเคยดีที่สุดประเทศหนึ่ง แต่การรับรู้เกี่ยวพม่าของคนไทยเรานั้น ตั้งอยู่บนเรื่องเล่าจากตำราประวัติศาสตร์ ที่บอกเล่าถึงการขับเคี่ยวทำสงครามระหว่างกันมาต่อเนื่องยาวนาน คงไม่ผิดนักหากจะกล่าวว่า คนไทยส่วนใหญ่รับรู้และมองพม่าในฐานะศัตรูหรือผู้รุกราน คำว่า "พม่า" จึงกลายเป็นวาทกรรมประวัติศาสตร์ที่ได้ผลิตสร้าง ความหมาย อัตลักษณ์และความจริงเกี่ยวกับชนชาติดังกล่าวไปในเชิงลบเมื่อมองจากสายตาของคนไทย เมื่อเราพูดถึงพม่าจึงหมายถึงพม่าที่เป็นศัตรูคู่อริ มากกว่าจะหมายถึงประเทศเพื่อนบ้านหรือชนชาติอีกชนชาติหนึ่งที่เป็นเพื่อนร่วมโลก
หนังสือเล่มนี้ใช้ข้อมูลหลักๆ จากหนังสือแบบเรียนของพม่า วรรณกรรมเพลง เรื่องเล่าเกี่ยวกับวีรบุรุษและสัญญาต่างๆ ที่ทางการพม่าใช้หล่อหลอมกล่อมเกลาให้ประชาชนชาวพม่าได้ตระหนักในสำนึกความเป็นชาติ ตัวตนและอัตลักษณ์ของพม่า ในขณะเดียวกันยังสะท้อนให้เห็นมุมมองและวิธีคิดที่คนพม่ามีต่อคนไทยอย่างน่าสนใจ
- ชาติ
- ภารกิจของชาติและประชาชน
- แนวคิดด้านการศึกษาพื้นฐาน
- ภาพรวมของแบบเรียนเบื้องต้น
- ประเด็นทางประวัติศาสตร์ในแบบเรียน
- รัฐชาตินิยม "พม่า" ในแบบเรียนเบื้องต้น
- จิตสำนึกแห่งสหภาพจากรัฐสู่เยาวชน
- ชาตินิยม : นวกรรมที่ไม่เคยเสื่อม
- หล่มประวัติศาสตร์ : มายาคดีใต้กงล้อประวัติศาสตร์
- พม่าควรมาจากไหนกันแน่
- การยึดติดในลัทธิและเผ่าพันธุ์กับความรุนแรง
...ฯลฯ...
"ผลงานหนังสือเล่มนี้ยังมุ่งตีแผ่นให้เข้าใจถึงกระบวนการกล่อมเหลาทางสังคมของพม่า ที่มุ่งหล่อหลอมและปลูกฝังให้ประชาคมเกิดความเชื่อและความรู้สึกนึกคิดไปในทิศทางที่รัฐประสงค์ สาระส่วนนี้ได้รับการนำเสนอผ่านกิจกรรมและประดิษฐกรรมที่รัฐใช้เป็นเครื่องมือในการกล่อมเกลาทางสังคม อาทิ ธงชาติ เพลงชาติ เพลงปลุกใจ ตำราเรียนและประวัติศาสตร์ว่าด้วยชีวประวัติของวีรบุรุษของชาติ"
สุเนตร ชุตินธรานนท์
ผู้อำนวยการสถาบันเอเชียศึกษา
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย