เพิ่งไม่นานมานี้เอง ที่เริ่มมีความตื่นตัวสนใจศึกษาสิ่งที่เรียกว่า "ภูมิปัญญาท้องถิ่น" ตามกระแสท้องถิ่นนิยมที่กลายเป็นกระบวนทัศน์สำคัญซึ่งเกิดขึ้นมาเพื่อโต้ตอบกระแสโลกาภิวัตน์ ถนนหลักทางวิชาการจึงแตกแขนงแบ่งซอยลงไปศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นกันอย่างคึกคัก พร้อมกับคำตอบที่ค่อนข้างมั่นใจว่า ภูมิปัญญาท้องถิ่นหาใช่เรื่องไร้สาระและล้าหลังอีกต่อไป แต่เป็นรากเหง้าของภูมิปัญญามนุษย์ที่แสดงถึงการสั่งสม ถ่ายทอดองค์ความรู้จากคนรุ่นหนึ่งยังคนรุ่นหนึ่ง และมีความลึกซึ้งเกินกว่าที่ภูมิปัญญาสมัยใหม่จะเข้าใจได้
คนไทยเชื่อเรื่องผีสางนางไม้มาแต่บรรพชน ทั้งผีดี ผีร้าย ผีกึ่งดีกึ่งร้าย ผีบางตนที่มีสิงสถิตแน่นอน ผีที่คนไทยเชื่อถือศรัทธากันมาแต่เดิมนั้นมีหลากหลายประเภท
"ผีป่าดำภู เจ้าปู่ขุนน้ำ" เป็นเรื่องราวของศรัทธาความเชื่อ ที่ผู้คนในท้องถิ่นชนบททุกพื้นที่ยังสืบสานมรดก มีประเพณี พิธีกรรม ปฏิบัติอย่างเข้มขลังจริงจัง น่าจะหยิบยกขึ้นมาพิเคราะห์ หรือดีความในกระบวนความคิดและภูมิปัญญาที่ดูจะมีนัยแอบแฝงอยู่ทุกเรื่องราว
- "หมอเหยา" ชาวผู้ไท เมืองหนองสูง มุกดาหาร
- "งันเฮือนดี" วิถีวัฒนธรรมของคนตาย
- พิธีเลี้ยงปู่ตาประกอบการเสี่ยงทาย
- สืบทอดตำแหน่ง "เฒ่าจ้ำ" อีกหนึ่งบทบาทของภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสาน
- ตำนานผีฟ้า...บูชาพญาแถน
- จากเจ้าพ่อผ้าแดง...ถึงเจ้าปู่หลุบ แรงขับเคลื่อนพลังท้องถิ่น
- พิธีกรรมลำปัว วิถีบำบัดผู้ป่วยด้วยภูมิปัญญาพื้นบ้าน
- พระพุทธรูปไม้ : อีกหนึ่งศรัทธาความเชื่อที่เชื่อมโยงถึงวิถีการผลิต
- วิถีธรรม ขมังเวทย์ ขจัดเภทอ ผองภัย
- พิธีกรรมเบิกบ้าน ตำบลกองนาง อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย
ฯลฯ