เพิ่งไม่นานมานี้เอง ที่เริ่มมีความตื่นตัวสนใจศึกษาสิ่งที่เรียกว่า "ภูมิปัญญาท้องถิ่น" ตามกระแสท้องถิ่นนิยมที่กลายเป็นกระบวนทัศน์สำคัญ ซึ่งเกิดขึ้นมาเพื่อโต้ตอบกระแสโลกาภิวัตน์ ถนนหลักทางวิชาการจึงแตกแขนงแบ่งซอยลงไปศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นกันอย่างคึกคัก พร้อมกับคำตอบที่ค่อนข้างมั่นใจว่า ภูมิปัญญาท้องถิ่นหาใช่เรื่องสาระและล้าหลังอีกต่อไป แต่เป็นรากเหง้าของภูมิปัญญามนุษย์ที่แสดงถึงการสั่งสม ถ่ายทอดองค์ความรู้จากคนรุ่นหนึ่งยังคนรุ่นหนึ่ง และมีความลึกซึ้งเกินกว่าที่ภูมิปัญญาสมัยใหม่จะเข้าใจได้
พื้นความรู้ความสามารถอันชาญฉลาดของชาวบ้าน ที่เกิดจากการสั่งสมองค์ความรู้ โดยผ่านกระบวนการสืบทอดปรับปรุง พัฒนา ช่ำชอง จนถึงขั้นเลือกสรรเป็นอย่างดีแล้วนั้น ล้วนแต่เป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงพื้นภูมิสังคมและศักยภาพในการประสานแนวความคิดและความรู้ใหม่ๆ มาใช้เป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตทั้งสิ้น
- "เมี่ยง" เครื่องเคียงของคนเมืองเหนือ
- สาโท...เหล้าพื้นบ้าน...มูนมังคนอีสาน
- น้ำตาลโตนดในวิถีเมืองเพชร
- วิถีปั้นหม้อดินเผา ตำบลฝายหลวง เมืองลับแล
- ไม้กวาดต้นแขม : การใช้ประโยชน์จากผลิตผลป่า
- วิถีต้มเกลือบ้านบ่อกระถิน
- วิถีชุมชนเหล่านกชุม ริมฝั่งลำน้ำชี
- สีย้อมผ้า : มรดกภูมิปัญญาจากป่าวัฒนธรรม
- จากกระแจะจัน ผ่าน ตูมตัง ถึง ตะนะคา
- บุ่ง-ทาม : มรดกผืนป่าลุ่มน้ำ
ฯลฯ