เพิ่งไม่นานมานี้เอง ที่เริ่มมีความตื่นตัวสนใจศึกษาสิ่งที่เรียกว่า "ภูมิปัญญาท้องถิ่น" ตามกระแสท้องถิ่นนิยมที่กลายเป็นกระบวนทัศน์สำคัญซึ่งเกิดขึ้นมาเพื่อโต้ตอบกระแสโลกาภิวัตน์ ถนนหลักทางวิชาการจึงแตกแขนงแบ่งซอยลงไปศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นกันอย่างคึกคัก พร้อมกับคำตอบที่ค่อนข้างมั่นใจว่า ภูมิปัญญาท้องถิ่นหาใช่เรื่องไร้สาระและล้าหลังอีกต่อไป แต่เป็นรากเหง้าของภูมิปัญญามนุษย์ที่แสดงถึงการสั่งสม ถ่ายทอดองค์ความรู้จากคนรุ่นหนึ่งยังคนรุ่นหนึ่ง และมีความลึกซึ้งเกินกว่าที่ภูมิปัญญาสมัยใหม่จะเข้าใจได้
วิถีของคนกล้ารับรู้ถึงความจำเป็นที่เชื่อมโยงให้เห็นกระบวนการต่อสู้จนกลายเป็นตำนานที่คนรุ่นหลังต้องสืบสานต่อด้วยความภาคภูมิใจนั้น บ่งชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องดูแล ปกป้อง บ่งชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องดูแล ปกป้อง ชื่นชม ยินดีกับต้นทุนมรดกต่างๆ ที่บรรดาปราชญ์พื้นบ้านได้คิดค้นสั่งสมเอาไว้ ขอเพียงแต่อย่าตำหนิ หรือดูถูกดูแคลนกระบวนการคิดสร้างสรรค์ของบรรพชนคนกล้า ที่เชื่อมโยงแนวคิดและวิธีการสืบสานมาถึงคนรุ่นเรา
- สืบทอดสายน้ำ ทำปลาแดก ตำรับ "แม่บุญล้อม"
- เสียงแคน "หมอเคน" บ้านสีแก้ว ถนนสายแคนแดนหมอลำ
- "มะลิ ทับอาสา" บนเส้นทางสมุนไพรบ้านทรัพย์สมบูรณ์
- "หมอน้อย" "หมอบัวลี" กับพันธกิจหมอพื้นบ้าน ตำนานภูลังกา
- "ครูจ่อย" คนรักไม้มะดัน "ปิ้งไก่" ที่ห้วยทับทัน
- "ละเมียด ครุฑเงิน" ครูภูมิปัญญาไทยกับวิถี "นาข้าว ตอซัง"
- "น้องปอ-ปู่ไพ" ถักทอสายใยปู่หลาน
- "ชะลอ สมคิด" จิตสำนึก วิญญาณ ธรรมาภิบาลหนองสาหร่ายทองเหลืองลองคอม "คุณประสิทธิ์" ผลิตภัณฑ์ของคนพื้นถิ่นหัตถกรรม
ปะเกือม, เครื่องเงิน "สวาท มุตตะ โสภา" บ้านเขวาสินรินทร์
- "ระเนตร ทองด้วง" ช่างศิลป์ ช่างวาด รองเท้าบ้านหนองตาด เมืองสุรินทร์
- "จำเนียร จันทร์โพธิ์" วิถีผักตบชวา
ฯลฯ