แบบฝึกหัดเล่มนี้ จัดทำขึ้นเพื่อเป็นฉบับต่อของหนังสือ "เลขคณิตพิชิตสมองเสื่อม" โดยมีเป้าหมายเช่นเดียวกับเล่มแรก กล่าวคือให้ผู้อ่านใช้เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสมอง และรักษาสุขภาพของสมองให้อ่อนเยาว์อยู่เสมอ ผลตอบรับจากหนังสือเล่มแรกนั้นมีท่านผู้อ่านจำนวนมากที่ลงมือฝึกฝนในชีวิตประจำวัน สำหรับหนังสือ "เลขคณิตพิชิตสมองเสื่อม 2" เล่มนี้ เพื่อให้ท่านผู้อ่านสามารถฝึกฝนต่อโดยเพิ่มความรู้สึกใหม่เข้าไป จึงได้เปลี่ยนแปลงเนื้อหาไปเล็กน้อย โดยเพิ่มส่วนของโจทย์หารเลขอย่างง่ายๆ เข้าไปด้วย
เมื่อคนเราอายุเลยวัยหนุ่มสาว (ช่วง 20-30 ปี) ความสามารถ (การทำงาน) ของสมองก็จะเริ่มเสื่อมสมรรถภาพลง อย่างไรก็ดี เรื่องนี้ก็เป็นเช่นเดียวกับพลังร่างกายหรือพลังกล้ามเนื้อ ซึ่งหากได้มีการออกกำลังกายทุกวันจนเป็นนิสัย ก็จะสามารถป้องกันการเสื่อมสภาพได้ สมองก็ไม่ต่างกัน หากเราพยายามฝึกฝนได้ทุกวัน ก็จะสามารถป้องกันการเสื่อมสมรรถภาพได้
เคยรู้สึกบ้างไหม ว่าในแต่ละวันในชีวิตคุณ "ชอบลืมโน่นลืมนี่บ่อยขึ้น" หรือ "จำชื่อคนหรือคำศัพท์ไม่ได้เยอะขึ้นทุกที" แต่ว่าถึงจะมีความรู้สึกเช่นนี้ ก็ไม่ต้องกังวล สมองคนเราก็เหมือนกล้ามเนื้อ พอเข้าสู่วัยสามสิบก็จะเริ่มเสื่อมลง แต่ถ้าเราได้ฝึกสมองบ่อยๆ ก็สามารถป้องกันการเสื่อมสมรรถภาพได้เช่นเดียวกับร่างกาย
ริวตะ คาวาชิม่า ได้คิดค้นวิธีฝึกที่จะป้องกันการเสื่อมความสามารถของสมอง โดยได้ทดลองวัดด้วย "อุปกรณ์วัดความสามารถสมอง" ทั้งโดยใช้คลื่นแม่เหล็ก MRI และเครื่องโทโพกราฟฟีที่ใช้ลำแสงอัลตราไวโอเลต ซึ่งจะไม่ก่อความเสียหายให้แก่ร่างกายหรือสมอง วิธีที่ว่านี้คือ "การคำนวณง่ายๆ" และการ "อ่านออกเสียง" โดยการอ่านคำออกเสียงซ้ำ ๆ ทั้งนี้ไม่ใช่โจทย์เลขที่ยากเย็น แต่เป็นโจทย์ง่ายๆ ที่สามารถแก้ได้อย่างคล่องแคล่ว นอกจากนี้ ในระหว่างที่อ่านหนังสือหรือหนังสือพิมพ์ ถ้าอ่านออกเสียงแทนที่จะอ่านในใจ เครื่องวัดได้แสดงให้เห็นว่าสมองซีกซ้ายและขวาในหลาย ๆ ตำแหน่งมีการทำงานด้วยข้อมูลมากมายที่ได้ ทำให้เราทราบแน่ชัดว่า 2 วิธีนี้จะช่วยป้องกันสมองเสื่อมความสามารถได้ หลังจากการมดลองนั้น หนังสือเล่มนี้จึงได้เกิดขึ้น เพื่อช่วยให้คุณได้ "ฝึกสมอง" อย่างสม่ำเสมอ
- แบบทดสอบกลีบสมองก่อนเริ่มการฝึก
- สตรูปเทสต์
- การกระตุ้นการทำงานของสมองด้วยการรักษาโดยการฝึกฝน
- การทดสอบประสิทธิภาพของสมองส่วนหน้า สัปดาห์ที่ 1
- การทดสอบประสิทธิภาพของสมองส่วนหน้า สัปดาห์ที่ 2
- การทดสอบประสิทธิภาพของสมองส่วนหน้า สัปดาห์ที่ 3
- การทดสอบประสิทธิภาพของสมองส่วนหน้า สัปดาห์ที่ 4
- การทดสอบประสิทธิภาพของสมองส่วนหน้า สัปดาห์ที่ 5
- การทดสอบประสิทธิภาพของสมองส่วนหน้า สัปดาห์ที่ 6
- การทดสอบประสิทธิภาพของสมองส่วนหน้า สัปดาห์ที่ 7
...ฯลฯ...