"จักรวาลในเปลือกนัท : The Universe in a Nutshell" เล่มนี้ เป็นหนึ่งในหนังสือสำคัญที่สุดของต้นศตวรรษที่ 21 เขียนโดย "สตีเฟน ฮอว์คิง" นักวิทยาศาสตร์ นักเขียนผู้ได้รับการยกย่องให้เป็น "ทายาทของไอน์สไตน์" โดยวงการวิทยาศาสตร์โลก
มาติดตามอ่านเรื่องราวและส่วนร่วมของ "ฮอว์คิง" กับการค้นหา "จอกศักดิ์สิทธิ์" แห่งวงการวิทยาศาสตร์ยุคใหม่ นั่นคือ การรวมทฤษฎีสัมพัทธภาพเข้ากับทฤษฎีควอนตัม รวมถึงเรื่องราวทางวิทยาศาสตร์ที่ชวนพิศวงยิ่งกว่านวนิยายวิทยาศาสตร์ อาทิ กำเนิดและวาระสุดท้ายของจักรวาล จักรวาลหลายมิติ ทฤษฎีสตริง หลุมดำ (ที่ไม่ดำจริง) สสารมืด อนาคตของมนุษยชาติ การท่องเวลา และอื่น ๆ อีกมากมายที่คัดสรรมาให้คุณได้ท่องไปในดินแดนมหัศจรรย์ของ "จักรวาลในเปลือกนัท" พร้อมกันได้แล้วในเล่ม!
บทที่ 1 ประวัติศาสตร์ย่อของสัมพัทธภาพ : ไอน์สไตน์วางรากฐานทฤษฎีพื้นฐานสองทฤษฎีแห่งศตวรรษที่ยี่สิบได้อย่างไร สัมพัทธภาพทั่วไปและทฤษฎีควอนตัม
บทที่ 2 รูปร่างของเวลา : ทฤษฎีสัมพัทธภาพภาคทั่วไปของไอน์สไตน์ ให้เวลามีรูปร่าง แล้วจะช่วยให้เข้ากับทฤษฎีควอนตัมได้อย่างไร
บทที่ 3 จักรวาลในเปลือกนัท : จักรวาลมีหลายประวัติศาสตร์ แต่ละประวัติศาสตร์กำหนดโดยนัทเล็ก ๆ
บทที่ 4 พยากรณ์อนาคต : การสูญเสียข้อมูลในหลุมดำอาจลดความสามารถของเราในการพยากรณ์อนาคตได้อย่างไร
บทที่ 5 ปกป้องอดีต : การท่องเวลาเป็นไปได้หรือไม่? อารยธรรมก้าวหน้าสามารถจะเดินทางย้อนกลับและเปลี่ยนอดีตได้หรือไม่?
บทที่ 6 อนาคตของเรา? Star Trek หรือไม่ใช่? : ชีวิตชีวภาพและอิเล็กทรอนิกส์ จะเดินหน้าพัฒนาต่อไปอย่างไรกับความซับซ้อนในอัตราเร่งที่ไม่หยุดยั้ง
บทที่ 7 โลกใหม่เบรน : เราอาศัยอยู่บนเบรน หรือเราเป็นเพียงโฮโลแกรม?
เรื่องจริงนั้นบางครั้งเหลือเชื่อยิ่งกว่านิยาย และหนังสือ The Universe in a Nutshell นี้คงจะทำให้เราต้องพูดคล้าย ๆ กันว่า เรื่องจริงในทางวิทยาศาสตร์นั้น บ่อยครั้งที่มีความมหัศจรรย์ไม่แพ้นิยายวิทยาศาสตร์ในหนังสือเล่มนี้ ฮอว์คิงได้ทบทวนฟิสิกส์พื้นฐานที่จำเป็นคือ ทฤษฎีสัมพัทธภาพและทฤษฎีควอนตัมไว้ในเบื้องต้น จากนั้นก็ได้ต่อยอดแตกกิ่งก้านสาขาออกไปในประเด็นน่าฉงนต่าง ๆ ที่งานวิจัยระดับแนวหน้าสุด ๆ สนใจกันอยู่...ไม่แน่ว่า สักวันหนึ่งเมืองไทยของเราอาจจะมีนักวิทยาศาสตร์และนักคิดชั้นนำในระดับโลก ที่ไม่แพ้ไอน์สไตน์และฮอว์คิงก็เป็นได้!
-- ศาสตราจารย์ ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ --
ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ