"เศรษฐศาสตร์เป็นวิชาที่เลือดเย็นและเห็นแก่ตัว…" หลายคนรู้สึกแบบนั้น เพราะความเชื่อหลักที่หยั่งรากลึกของเศรษฐศาสตร์ทุกวันนี้มักไม่พ้น "มีเพียงการบรรลุประสิทธิภาพสูงสุดเท่านั้นที่จะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่สังคม" หรือ "มีเพียงการยึดประโยชน์ส่วนตนเป็นที่ตั้งเท่านั้นที่เป็นพฤติกรรมที่มีเหตุมีผล"
"อมาตยา เซน" นักเศรษฐศาสตร์และนักปรัชญาผู้ยิ่งใหญ่ ตั้งคำถามต่อความเชื่อเหล่านั้น พร้อมทั้งชี้ให้เห็นว่า ที่เป็นเช่นนั้นเพราะเศรษฐศาสตร์ปัจจุบันเน้นแต่มิติทางวิศวกรรมศาสตร์ แต่ไม่มีพื้นที่ให้กับจริยศาสตร์ ทั้งที่ครั้งหนึ่งก็เป็นต้นกำเนิดของเศรษฐศาสตร์เช่นกัน เซนมิได้ปฏิเสธการเน้นกลไกเชิงวิศวกรรมศาสตร์ของเศรษฐศาสตร์ แต่เขาเชื่อว่าหากเราพาจริยศาสตร์กลับมารวมไว้ในเศรษฐศาสตร์ได้ ก็จะทำให้เศรษฐศาสตร์สามารถอธิบายและพยากรณ์พฤติกรรมที่แท้จริงของมนุษย์ได้อย่างแม่นยำมากขึ้น และดังนั้นจึงจะทำให้เศรษฐศาสตร์เป็นประโยชน์มากขึ้นต่อสังคม
1 พฤติกรรมทางเศรษฐศาสตร์กับสำนึกทางศีลธรรม
- แหล่งกำเนิดสองแห่ง
- ความสำเร็จและจุดอ่อน
- พฤติกรรมทางเศรษฐศาสตร์กับความมีเหตุมีผล
ฯลฯ
2 การตัดสินใจทางเศรษฐศาสตร์กับปรัชญาศีลธรรม
- การเปรียบเทียบอรรถประโยชน์ระหว่างบุคคล
- ประสิทธิภาพสูงสุดพาเรโต และประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ
- อรรถประโยชน์ ประสิทธิภาพสูงสุดพาเรโต และสวัสดิการนิยม
ฯลฯ
3 เสรีภาพกับผลพวง
- ความอยู่ดีมีสุข อิสระในการตัดสินใจ และเสรีภาพ
- พหุนิยมกับการประเมิน
- ความไม่ครบถ้วน และความครบถ้วนล้นเกิน
ฯลฯ