"หลังสมัยใหม่นิยมและการอุดมศึกษา" เล่มนี้ ถือได้ว่าเป็นตำราอุดมศึกษาฉบับแรกที่ทำการวิเคราะห์โดยใช้กรอบ Postmodernnism ซึ่งผู้เขียนได้นำเสนอทั้งในแง่ของประวัติชีวิต แนวคิด และการประยุกต์แนวคิด ของนักคิดที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก อาทิ มิเชล ฟูโกต์ ฌาคส์ แดร์ริดา ฌอง ฟรองซัวส์ ลีโอตาร์ด์ และฌองโบดริยาร์ด ที่นำเสนอถึงผลกระทบของสภาวะหลังสมัยใหม่นิยมและแนวคิดหลังสมัยใหม่นิยมที่มีต่อการอุดมศึกษา นโยบายและวิธีปฏิบัติในการจัดหลักสูตรการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา รวมไปถึงอิทธิพลของแนวคิดที่มีต่อการแสดงหาความรู้ในสถาบันอุดมศึกษา สำหรับผู้ที่อยู่ในแวดวงการศึกษาเนื้อหาอันแยบยลในเล่มจะช่วยให้คุณผู้อ่านนำไปต่อยอดทางความคิด ซึ่งอาจนำไปสู่การปฏิบัติที่จะทำให้เกิดการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง และพัฒนาวงการการศึการะดับอุดมศึกษาของไทยให้ยกระดับสู่ความเท่าทัน เทียบเท่า หรือเหนือกว่านานาประเทศต่อไป
บทที่ 1 หลังสมัยนิยมและการอุดมศึกษา : บทนำ
บทที่ 2 ประวัติชีวิต แนวคิดและการประยุกต์แนวคิดและวิธีการศึกษาของมิเชล ฟูโกต์ (Michel Foucault) ในการวิพากษ์การอุดมศึกษา
บทที่ 3 ประวัติชีวิต แนวคิดและการประยุกต์แนวคิดและวิธีการศึกษาของฌาคส์ แดร์ริดา (Jacques Derrida) ในการวิพากษ์การอุดมศึกษา
บทที่ 4 ประวัติชีวิต แนวคิดและการประยุกต์แนวคิดและวิธีการศึกษาของฌอง ฟรองซัวล์ ลีโอตาร์ด์ (Jean Francois Lyotard) ในการวิพากษ์การ
อุดมศึกษา
บทที่ 5 ประวัติชีวิต แนวคิดและการประยุกต์แนวคิดและวิธีการศึกษาของฌอง โบดริยาร์ด์ (Jean Baudrillard) ในการวิพากษ์การอุดมศึกษา
บทที่ 6 อิทธิพลของสภาวะหลังสมัยใหม่นิยมและแนวคิดหลังสมัยใหม่นิยมที่มีต่อการดำรงอยู่ของสถาบันอุดมศึกษา
บทที่ 7 นโยบายและวิธีปฏิบัติในการจัดหลักสูตรและการเรียนการสอนระดับอุดมศึกษา จากมุมมองหลังสมัยใหม่นิยม
บทที่ 8 อิทธิพลของแนวคิดหลังสมัยใหม่นิยมที่มีต่อการแสวงหาความรู้ในสถาบันอุดมศึกษา
บทที่ 9 บทสรุปและข้อสังเกต
- ศัพท์ที่ใช้ในหนังสือเล่มนี้