เราจะตามหาตัวตนเดิมที่ทำหล่นหายเจอได้อย่างไร หากความป่วยทางใจได้เปลี่ยนเนื้อแท้ของเราไปแบบไม่มีวันย้อนคืน
"เรเชล อาวีฟ" นักเขียนสารคดีมือรางวัลแห่ง New Yorker และอดีต "ผู้ป่วยอะนอเร็กเซียที่อายุน้อยที่สุดในสหรัฐฯ" กอดเก็บประสบการณ์เจ็บปวดในวัยเยาว์ แล้วออกเดินทางไปสำรวจเรื่องราวจากเหล่า "คนแปลกหน้า" ผู้หลงลืมตัวตนและหลงทางในโลกแห่งจิตเวช กลั่นกรองเป็นบันทึกความเจ็บป่วยทางจิตและประวัติศาสตร์บาดแผลทางใจที่ได้รับเสียงชื่นชมทั่วโลก พร้อมชวนตั้งคำถามถึงความไม่ลงรอยระหว่าง "คำวินิจฉัย" อันมีกรอบเกณฑ์ กับ "ตัวตน" ของผู้ป่วยที่มีเลือดเนื้อจิตใจ
- หมอหนุ่มซึมเศร้าผู้เชื่อว่าการรักษาแบบจิตวิเคราะห์ทำชีวิตตนพัง
- หญิงจิตเภทชาวอินเดียผู้สวามิภักดิ์กายใจต่อพระกฤษณะ แต่ไม่เคยมีใครคิดว่านั่นคือหนทางเยียวยาเธอ
- คุณแม่ผิวดำกับอาการจิตหลงผิดในสังคมคนขาวที่ "ไม่มีใครฟังเสียงฉันเลย"
- เด็กสาวไบโพลาร์ที่เชื่อคำวินิจฉัยแพทย์และพึ่งยาสารพัดมาตลอดชีวิต จนไม่รู้จักตัวเองอีกต่อไป
หนังสือเล่มนี้ไม่ใช่เพียงเรื่องราวการต่อสู้ของผู้ป่วย แต่คือบันทึกการเดินทางอันอบอุ่นและกล้าหาญของมนุษย์ผู้มีหัวใจและไม่เคยยอมแพ้ พร้อมหยัดยืนอยู่เป็นเพื่อนเคียงข้างโดยไม่ตัดสิน และท้าทายให้เราขยายพรมแดนโลกจิตเวชไปอีกขั้น เพื่อโอบกอด "คนแปลกหน้าชื่อว่าตัวเอง" ที่อาจซ่อนอยู่ในตัวคุณ ฉัน หรือเราทุกคน
บทนํา: เรเซล "คนที่ดีกว่าตัวฉันเอง"
- เรย์ "ผมเป็นอย่างนี้จริงเหรอ? ผมไม่ใช่อย่างนี้หรอกเหรอ? ผมเป็นอะไรกันแน่?"
- บาปู "หรือความยากลำบากที่ฉันเผชิญอยู่นี้ คือบทเรียนของการสวามิภักดิ์"
- เนโอมี "คุณไม่ฟังที่ฉันพูดเลย"
- ลอรา "เขาอ่านใจฉันได้โดยที่ฉันไม่จำเป็นต้องอธิบายอะไรเลย"
บทส่งท้าย: ฮาวา "คนแปลกหน้าชื่อว่าตัวเอง"