รูปภาพสินค้า รหัส9786168313046
9786168313046
คุณเป็นคนยากจนไหม แล้วคุณเคย "รู้สึก" ว่าตัวเองจนหรือเปล่า
ผู้เขียนKeith Payne (คีธ เพย์น)
ผู้แปลวิทย์ วิชัยดิษฐ

ส่วนลด 0 %
ราคาปก 345.00 บาท
ราคาสุทธิ 345.00 บาท
Bookmark and Share
รายละเอียดหนังสือ
รหัสสินค้า: 9786168313046
จำนวน: 280 หน้า
ขนาดรูปเล่ม: 144 x 210 x 13 มม.
น้ำหนัก: 315 กรัม
เนื้อในพิมพ์: ขาวดำ 
ชนิดปก: ปกอ่อน 
ชนิดกระดาษ: กระดาษถนอมสายตา 
หน่วย: เล่ม 
สำนักพิมพ์: บุ๊คสเคป, บจก. 
เดือนปีที่พิมพ์: 3 / 2565
:: เนื้อหาโดยสังเขป
ทุกวันนี้เราอยู่ในโลกแห่งความเหลื่อมล้ำ โลกที่คนต่างชนชั้นอยู่คนละขั้นของ "บันไดสถานะ" ทว่าความเหลื่อมล้ำมิใช่แค่ความแตกต่างทางการเงินระหว่างคนรวยกับคนจน แต่ลงลึกถึง "ความรู้สึกจน" เมื่อเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่น และในโลกที่บันไดสูงเยี่ยงตึกระฟ้า ช่องว่างระหว่างชนชั้นจึงถ่างกว้าง และแม้แต่ชนชั้นกลางก็รู้สึกว่าไร้หนทางตะกายขึ้นไป

"เมื่อบันไดหัก: มองสังคมเหลื่อมล้ำผ่านแว่นจิตวิทยา" จะพาไปกะเทาะเปลือกความเหลื่อมล้ำที่ไม่่ใช่เพียงปัญหาเศรษฐกิจ แต่หยั่งรากลึกในชีวิต ความคิด ค่านิยม ไปจนถึงระบบภูมิคุ้มกันและอุดมการณ์ทางการเมือง พร้อมงานวิจัยอ่านสนุกมากมายที่จะทลายอคติและมายาคติเกี่ยวกับความจน และตอบคำถามว่า ทำไมความรู้สึกว่ายากจนจึงทำให้เราอายุสั้นลงได้ ความเหลื่อมล้ำลดประสิทธิภาพในการทำงานได้อย่างไร เหตุใดสังคมเหลื่อมล้ำจึงมีผู้งมงายในศาสนามากกว่า และอะไรคือรากฐานของความคิดแบบ "ไม่มีอะไรจะเสีย"

เมื่อ "ความรู้สึกว่ายากจน" สำคัญและส่งผลพอๆ กับ "ความยากจน" การแก้ไขปัญหาความยากจนจึงเป็นเพียงศึกแค่ครึ่งเดียว ร่วมกันค้นหาวิธีเพิ่มภูมิต้านทานให้เราใช้ชีวิตในสังคมแนวตั้งได้อย่างแข็งแรง พร้อมลดความเหลื่อมล้ำด้วยการสร้างบันไดที่เท่าเทียม เพื่อไม่ให้ใครต้องร่วงหล่นในโลกที่บันไดหักอีกต่อไป
:: สารบัญ
บทที่ 1 เศรษฐศาสตร์ป้าโรงอาหาร : ทำไมความรู้สึกยากจนถึงเจ็บเท่ากับความยากจนจริงๆ
บทที่ 2 ง่ายกว่าคนอื่น : ทำไมเราหยุดเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่นไม่ได้
บทที่ 3 ตรรกะเสื่อม : ความเหลื่อมล้ำมีตรรกะเฉพาะตัว
บทที่ 4 ฝ่ายซ้าย ฝ่ายขวา และบันได : ความเหลื่อมล้ำทำให้เกิดความแตกแยกทางการเมืองได้อย่างไร
บทที่ 5 ชีวิตยืนยาวและป้ายสุสานใหญ่ : ความเหลือมล้ำเป็นเรื่องของความเป็นความตาย
บทที่ 6 พระเจ้า ทฤษฎีสมคบคิด และภาษาของทูตสวรรค์ : ทำไมคนเชื่อในสิ่งที่ต้องเชื่อ
บทที่ 7 มองความเหลื่อมล้ำเป็นสีขาว-ดำ : การเต้นรำอันตรายของความเหลื่อมล้ำด้านเชื้อชาติและเศรษฐกิจ
บุทที่ 8 บันไดในองค์กร : ทำไมการจ่ายค่จ้างอย่างยุติธรรมเป็นสัญญาณของการแข่งขันที่ยุติธรรม
บทที่ 9 ศิลปะของการใช้ชีวิตในแนวตั้ง : บันไดที่เตี๋ยลง การเปรียบเทียบอย่างระมัดระวัง และสิ่งสำคัญที่สุด