ในยุคที่ "ลัทธิบูชาตลาด" กำลังเฟื่องฟู การขยายตัวของตลาดที่แทรกซึมเข้าไปยังทุกมิติของสังคม แทรกซึมเข้าไปยังชีวิตผู้คน แทรกซึมเข้าไปในชีวิตประจำวัน นักเศรษฐศาสตร์มักจะคิดเอาเองว่าตลาดนั้นไร้ชีวิต ไม่ส่งผลใด ๆ ต่อสินค้าที่มันแลกเปลี่ยน แต่นั่นเป็นความคิดที่ผิด…ตลาดทิ้งร่องรอยของมันเอาไว้ บางครั้งคุณค่าของตลาดก็เบียดขับคุณค่านอกตลาดที่ควรค่าแก่การใส่ใจ
"ไมเคิล แซนเดล" นักปรัชญาเศรษฐศาสตร์การเมืองและอาจารย์จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เจ้าของผลงานหนังสือยอดนิยมอย่าง "ความยุติธรรม" กลับมาจุดประกายคำถามสำคัญในยุคตลาดเสรีเฟื่องฟูในหนังสือ "เงินไม่ใช่พระเจ้า" เล่มนี้ว่า "เราอยากได้สังคมที่ทุกสิ่งซื้อได้หรือเปล่า? หรือว่าสังคมมีคุณค่าทางศีลธรรมและคุณค่าทางพลเมืองบางอย่างที่ตลาดไม่ให้ความสำคัญ และเงินก็ซื้อไม่ได้?" เนื้อหาภายในเล่มกล่าวถึง "ตลาดกับศีลธรรม" ผ่านเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงให้สังคมและในหลายประเทศ ว่าพลังอำนาจของ "เงิน" ที่นับวันยิ่ง "ใหญ่" ขึ้นเรื่อย ๆ จนอยู่เหนือศีลธรรมไปแล้ว บางสิ่งบางอย่างที่เงินเคยซื้อไม่ได้ ปัจจุบันก็ถูกเงินซื้อไปได้อย่างง่ายดาย
บทนำ : ตลาดกับศีลธรรม
บทที่ 1 : ลัดคิว
บทที่ 2 : แรงจูงใจ
บทที่ 3 : ตลาดเบียดขับศีลธรรมอย่างไร
บทที่ 4 : ตลาดความเป็นและความตาย
บทที่ 5 : สิทธิการตั้งชื่อ