"ความเป็นเป็ด หรือ Generalist ดีอย่างไร?"
หลายคนคงเคยคิดว่าทำไมเราไม่เก่งด้านไหนเลย ทำได้เกือบทุกอย่าง อย่างละนิดอย่างละหน่อย หรือที่เรียกว่า "เป็ด" และหลายคนที่คิดว่าตัวเองเป็นเป็ด คงเคยนึกน้อยใจเหมือนกันที่ตัวเองไม่มีความรู้อย่างลึกซึ้งในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเลยสักด้าน หรือคำกล่าวที่ว่าถ้าต้องการพัฒนาทักษะในด้านใดด้านหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นด้านดนตรี หรืออยากเก่งเรื่องกีฬา ควรเริ่มทำมันเสียตั้งแต่เนิ่นๆ มุ่งเน้นการฝึกฝนอย่างเข้มข้น ทำให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะถ้าเริ่มต้นช้ากว่าเพื่อน คุณอาจจะไม่มีโอกาสไล่ตามคนที่เริ่มต้นเร็วได้ทัน
แต่ถ้าลองพินิจพิจารณาอย่างละเอียดแล้วนั้น ไม่ว่าจะเป็นนักกีฬามืออาชีพไปจนถึงผู้ได้รางวัลโนเบล ความเป็น Specialist หรือความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านนั้น อาจไม่ได้จำเป็นเสมอไป… เพราะจริงๆ แล้วการรู้หลายด้านนั้น เป็น "ข้อได้เปรียบ" หรืออาจเรียกได้ว่าเป็น "ชัยชนะ" เลยก็ว่าได้!
"วิชารู้รอบ" ฉบับภาษาไทย ถูกแปลมาจาก "Range : Why Generalists Triumph in a Specialized World" โดย "David Epstein" ซึ่งเผยแพร่เมื่อปี 2019 เหมาะสำหรับคนที่เป็น Specialist ที่อยากมองกรอบของความเป็น Generalist มากขึ้น และยังเหมาะกับ First Jobber หรือคนที่กำลังสับสนในชีวิตว่าตัวเองนั้นแท้จริงแล้วอยากทำอะไร
บทนำ : รอเจอร์ vร. ไทเกอร์
บทที่ 1 : ลัทธิเริ่มก่อนได้เปรียบ
บทที่ 2 : ต้นกำเนิดโลกโหดร้าย
บทที่ 3 : ยิ่ง (ความซ้ำชาก) น้อยยิ่งดี
บทที่ 4 : เรียนเร็ว เรียนช้า
บทที่ 5 : คิดนอกประสบการณ์
บทที่ 6 : ปัญหาของวิริยะล้นเกิน
บทที่ 7 : กระเช้าเย้าแหย่ตัวตนที่เป็นไปได้
บทที่ 8 : ข้อได้เปรียบของคนนอก
บทที่ 9 : คิดแหวกแนวด้วยเทคโนโลยีขาลง
บทที่ 10 : ถูกความเชี่ยวชาญหลอก
บทที่ 11 : เรียนรู้ที่จะทิ้งเครื่องมืออันคุ้นเคย
บทที่ 12 : มือตั้งใจสมัครเล่น
บทสรุป : ขยายขอบเขตของคุณ
น่าทึ่งมาก... ถ้าคุณเป็นเป็ด ที่เคยรู้สึกด้อยกว่าเพื่อนร่วมงานซึ่งเป็นคนรู้ลึก หนังสือเล่มนี้เกิดมาเพื่อคุณ
-- บิลล์ เกตส์ --
หนังสือเล่มสำคัญแห่งปี สำหรับการทำงานและการอบรมเลี้ยงดูลูกๆ
-- นิตยสาร Forbes --