ความเหงาเป็นสิ่งสากล… อาจจะบ่อยหรือไม่บ่อย มากหรือน้อย แต่เชื่อว่าในชีวิตของทุกคนต้องเคย "เหงา" รู้ไหมว่าความเหงาไม่ใช่เรื่องของคนเมืองยุคใหม่เท่านั้น แต่ความเหงาอยู่กับเรามาแต่บรรพกาล ก่อนหน้าที่มนุษย์จะวิวัฒนาการมาเป็นมนุษย์อย่างทุกวันนี้เสียอีก
อย่างที่เรารู้กันว่ามนุษย์เป็นสัตว์สังคม ความเหงาจึงเรียกได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตมนุษย์ และที่จริง หากปราศจากความเหงา มนุษย์ก็อาจไม่เป็นมนุษย์อย่างที่เราเห็นก็ได้ เพราะความเหงามีส่วนสำคัญทำให้มนุษย์รอดชีวิตจากภยันตรายต่างๆ มาได้ ความเหงาดึงดูดมนุษย์ให้อยู่รวมกลุ่ม และการอยู่รวมกลุ่มนั้นเองที่ทำให้เรามีอำนาจต่อกรกับพลังของธรรมชาติมาได้
ผู้เขียน "จอห์น ที. คาชิออปโป" จากมหาวิทยาลัยชิคาโก จะพาเราไปทำความรู้จักกับ "ความเหงา" ลึกซึ้งลงไปถึงแก่นของมัน ผู้เขียนศึกษาความเหงาในแง่วิทยาศาสตร์และประสาทศาสตร์มานานหลายสิบปี หนังสือเล่มนี้เรียกได้ว่าเป็นงานบุกเบิกการศึกษาเรื่องความเหงาเล่มแรกๆ ของโลกก็ว่าได้ "วิทยาศาสตร์แห่งความเหงา" จะทำให้คุณเข้าใจความเหงาอย่างลึกซึ้งยิ่งกว่าแค่ความรู้สึก
ภาค 1 : หัวใจอ้างว้าง
- บทที่ 1 เดียวดายในสังคมโลก
- บทที่ 2 ตัวแปร การควบคุม และบังเหียนที่ยืดหยุ่น
- บทที่ 3 สูญเสียการควบคุม
ฯลฯ
ภาค 2 : จากยีนเห็นแก่ตัวสู่สัตว์สังคม
- บทที่ 7 สายใยแห่งความเชื่อมโยง
- บทที่ 8 สิ่งมีชีวิตที่ขาดสังคมไม่ได้
- บทที่ 9 รู้จักตัวเอง มิใช่ใครอื่น
ฯลฯ
ภาค 3 : แสวงหาความหมายในสายสัมพันธ์
- บทที่ 12 การปรับตัว 3 แบบ
- บทที่ 13 ทำให้ถูกต้อง
- บทที่ 14 พลังของสายสัมพันธ์ทางสังคม