"ฟินแลนด์" คือ ประเทศที่มีระบบการศึกษาแข็งแกร่งและมีผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาในอันดับต้นๆ ของโลก ความสำเร็จนี้ไม่อาจเกิดขึ้นได้หากปราศจากกำลังสำคัญที่คอยขับเคลื่อนอย่าง "ครู" ผู้เปิดประตูแห่งความรู้ให้ผู้เรียน และกุญแจสำคัญที่จะไขประตูบานนี้ได้คือ "ความเชื่อใจ"
"ปาสิ ซอห์ลเบิร์ก" ศาสตราจารย์ด้านนโยบายการศึกษา และ "ทิโมธี ดี. วอล์กเกอร์" ครูชาวอเมริกันที่เชื่อในวิถีการสอนแบบฟินแลนด์ นำเสนอระบบการศึกษาอันแข็งแกร่งบนรากฐานของความเชื่อใจ ซึ่งสนับสนุนให้ครูมีบทบาทกำหนดทิศทางการศึกษา มีสถานะทางอาชีพที่มั่นคง ไม่ถูกตีกรอบทางความคิด ผ่านหลัก 7 ประการพร้อมตัวอย่างการนำไปใช้จริง อาทิ
- กระบวนการบ่มเพาะ 'อำนาจตัดสินใจ' ของครู
- วิธีส่งต่อความเชื่อใจและสร้างผู้เรียนที่รู้จักรับผิดชอบ
- การสร้างพื้นที่ปลอดภัยในการเรียนรู้ให้ครูและนักเรียน
- ระบบช่วยเหลือเด็กที่มีความต้องการเฉพาะ ตามแนวคิด 'ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง'
เพราะระบบการศึกษาที่แข็งแกร่งไม่อาจพัฒนาได้ด้วยนวัตกรรมวิเศษหรือครูยอดมนุษย์ไม่กี่คน แต่ต้องอาศัยความเชื่อใจที่เชื่อมร้อยครู ผู้บริหาร ผู้กำหนดนโยบาย ผู้ปกครอง และนักเรียนเข้าด้วยกัน นี่คืออิฐก้อนแรกที่เป็นรากฐานสำคัญ เพื่อปูทางสู่อนาคตอันเปี่ยมความหวังของคนรุ่นต่อไป
ภาค 1 ดินแดนแห่งความเชื่อใจ
- บทที่ 1 ครูสองคน
- บทที่ 2 อาวุธลับของฟินแลนด์
- บทที่ 3 วิวัฒนาการของความเชื่อใจ
ภาค 2 หลักเจ็ดประการ
- บทที่ 4 สอนครูให้คิด
- บทที่ 5 บ่มเพาะคนรุ่นต่อไป
- บทที่ 6 อิสระภายในกรอบ
- บทที่ 7 สร้างผู้เรียนที่รู้จักรับผิดชอบ
- บทที่ 8 เล่นเป็นทีม
- บทที่ 9 แบ่งปันความเป็นผู้นำ
- บทที่ 10 เชื่อใจกระบวนการ
สังคมแห่งความเชื่อใจเป็นสังคมแห่งสุขภาวะ ความเชื่อใจเป็นสุขภาวะทางสังคม (social well-being) โรงเรียนต้องเป็นพื้นที่สร้างสุขภาวะทางสังคม และรับผิดชอบการบ่มเพาะพลเมืองที่เชื่อใจได้ หนังสือเล่มนี้
ช่วยชี้แนวทางพัฒนาระบบการศึกษาไทยเพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งของการศึกษาคุณภาพสูง
-- วิจารณ์ พานิช --