รูปภาพสินค้า รหัส9786168221792
9786168221792
เทคนิคการเล่าข้อมูลให้ตรงจุด ตอบโจทย์และตรึงใจ ด้วย Data Visualization
ผู้เขียนCole Nussbaumer Knaflic (โคล นุสบาเมอร์ นาฟลิก)
ผู้แปลฐานันดร วงศ์กิตติธร

ส่วนลด 0 %
ราคาปก 450.00 บาท
ราคาสุทธิ 450.00 บาท
Bookmark and Share
รายละเอียดหนังสือ
รหัสสินค้า: 9786168221792
จำนวน: 280 หน้า
ขนาดรูปเล่ม: 165 x 240 x 19 มม.
น้ำหนัก: 585 กรัม
เนื้อในพิมพ์: คละสี 
ชนิดปก: ปกอ่อน 
ชนิดกระดาษ: กระดาษปอนด์ 
หน่วย: เล่ม 
สำนักพิมพ์: บุ๊คสเคป, บจก. 
เดือนปีที่พิมพ์: 9 / 2564
:: เนื้อหาโดยสังเขป
"Data is the new oil!"

"ข้อมูล" คือขุมทรัพย์แห่งศตวรรษที่ 21 โลกทุกวันนี้ล้วนขับเคลื่อนด้วยข้อมูล ทว่าข้อมูลก็เหมือนน้ำมัน หากไม่ผ่านกระบวนการคัดสรร กลั่นกรอง และนำเสนอให้ "ปัง" ข้อมูลก็อาจ "พัง" ได้ง่ายๆ คำถามคือ ท่ามกลางข้อมูลมหาศาลและแผนภาพสารพัดแบบที่มีให้เลือกสรร เราจะสื่อสารข้อมูลอย่างไรให้ตอบโจทย์อย่างแท้จริง

"Storytelling with Data" โดย "โคล นุสบาเมอร์ นาฟลิก" อดีตผู้จัดการทีมวิเคราะห์ข้อมูลบุคลากรของกูเกิล และวิทยากรผู้จัดอบรมเทคนิคการนำเสนอข้อมูลให้หน่วยงานกว่าร้อยแห่ง จะพาคุณไปเรียนรู้ "ศาสตร์" แห่งการวิเคราะห์ "เรื่อง" จากข้อมูลอย่างตรงจุด และ "ศิลป์" แห่งการ "เล่า" ข้อมูลให้ตรึงใจ ผ่านตัวอย่างประกอบและเทคนิคมากมายที่นำไปปรับใช้ได้จริง เช่น

- เทคนิคการกลั่นกรองประเด็นสำคัญด้วย เรื่องเล่าสามนาที
- วิธีเลือกกราฟที่มีประสิทธิภาพ (และเหตุผลที่ไม่ควรใช้แผนภูมิวงกลม!)
- กลเม็ดดึงดูดความสนใจของผู้รับสารด้วย ขนาด อักษรตัวหนา และ สีสัน
- เคล็ดลับเพิ่มความพิเศษให้ข้อมูลด้วยมนตร์วิเศษของเรื่องราว

ไม่ว่าคุณจะเป็นนักศึกษาที่ต้องทำแผนภาพสรุปรายงาน พนักงานที่เตรียมนำเสนองานให้ลูกค้า หรือนักออกแบบสื่อที่หาวิธีสื่อสารข้อมูลสถิติอย่างมีประสิทธิภาพ หนังสือเล่มนี้คือคู่มือที่จะพาคุณเจาะลึกถึงแก่นของ Data Visualization ทักษะสำคัญแห่งยุคสมัย เพื่อ "เล่า" ข้อมูลให้เป็น "เรื่อง" และเปลี่ยนข้อมูลให้กลายเป็นขุมทรัพย์อันทรงพลังอย่างแท้จริง
:: สารบัญ
บทที่ 1 บริบทนั้นสำคัญยิ่ง
บทที่ 2 เลือกสื่อที่มีประสิทธิภาพ
บทที่ 3 องค์ประกอบไม่สำคัญเปรียบดั่งศัตรู!
บทที่ 4 ตรึงความสนใจของผู้รับสาร
บทที่ 5 คิดอย่างนักออกแบบ
บทที่ 6 วิเคราะห์โมเดลการใช้แผนภาพ
บทที่ 7 ว่าด้วยการถ่ายทอดเรื่องราว
บทที่ 8 ร้อยเรียงเข้าด้วยกัน
บทที่ 9 กรณีศึกษา
บทที่ 10 ฝากไว้ให้คิด