-จอห์น โมนาแฮน และ ปีเตอร์ จัสต์ ศาสตราจารย์ด้านมานุษยวิทยาจากมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ ชิคาโก และวิลเลียมส์คอลเลจ สอง "นักเล่าเรื่อง" แห่งโลกมานุษยวิทยา จะพาไปสำรวจ “วัฒนธรรม” และ “สังคม” สองหอคอยอันเป็นรากฐานของมานุษยวิทยา และทำความรู้จักกับนักมานุษยวิทยาที่เป็นเสมือนบรรพบุรุษทางความคิดและวิธีวิทยาของสาขาวิชาในปัจจุบัน พร้อมตอบคำถามสำคัญ เช่น อะไรคือเอกลักษณ์ของความเป็นมนุษย์? กลุ่มของผู้คน เช่น ครอบครัว ชนชั้น และชาติ ก่อตัวและยึดโยงกันได้อย่างไร? ขอบเขตที่ “พอดี” ในการเคารพความแตกต่างทางวัฒนธรรมอยู่ตรงไหน?
มานุษยวิทยา: ความรู้ฉบับพกพา ผสมผสานทั้งหลักคิดและวิธีการ งานด้านชาติพันธุ์วรรณนา และตัวอย่างเปี่ยมชีวิตชีวาจากพื้นที่ศึกษาจริง พร้อมฉายภาพมานุษยวิทยาในฐานะบันทึกเกี่ยวกับความสร้างสรรค์และความเสื่อมทรามของมนุษย์ และเครื่องมืออันทรงคุณค่าสําหรับทําความเข้าใจความหลากหลายของวัฒนธรรมและสังคม หนังสือเล่มนี้เป็นเสมือนการแง้มประตูบานใหญ่เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้อ่านออกท่องโลกกว้างทางมานุษยวิทยาต่อไป
1. ข้อพิพาทในดงโก : งานภาคสนามและชาติพันธุ์วรรณนา
2. ตัวอ่อนของผึ้งและซุปหัวหอม
3. การเผชิญกับคนแปลกหน้า
4. เฟอร์นันโดหาภรรยา : เพศและสายเลือด
5. เมื่อโบเซกกลายเป็นบาการ์ : วรรณะ ชนชั้น เผ่า และชาติ
6. งานเทศกาลในนูยู : ผู้คนและสิ่งของ
7. ภัยแล้งในบิมา : ผู้คนกับพระเจ้า
8. ญาญู มาเรียนโดนฟ้าผ่า : ผู้คนและตัวตน