จำนิทานก่อนนอนที่พ่อแม่เคยอ่านให้ฟังได้ไหม เรื่องราวสนุกสนาน อบอุ่น ชวนหัว หรือชวนเสียน้ำตา น้ำเสียงของพ่อแม่ ความใกล้ชิดอ่อนโยน ช่วงเวลาอันอ่อนหวานเรียบง่ายนั้น แท้จริงแล้วเป็นช่วงเวลาอันทรงพลัง ที่หล่อหลอม สร้างสรรค์ และถึงขั้นกำหนดชีวิตของเด็กคนหนึ่ง
"พลังแห่งการอ่านออกเสียง (Jim Trelease’s Read-Aloud Handbook)" หนังสือคลาสสิกที่อยู่คู่บ้านและห้องเรียนทุกแห่งมากว่า 40 ปี ได้เปลี่ยนชีวิตเด็กๆ รวมถึงพ่อแม่และครูอาจารย์ทั่วโลก ด้วยการเผยพลังมหัศจรรย์ของกิจกรรมง่ายๆ อย่างการอ่านออกเสียง ที่ช่วยเสริมสร้างคลังคำศัพท์ หล่อหลอมทักษะภาษาและการเรียนรู้ เป็นเชื้อไฟชั้นดีที่ช่วยจุดคบเพลิงแห่งความสำเร็จในอนาคต และยังถักทอสายใยอันอบอุ่นจากผู้อ่านถึงผู้ฟัง
หนังสือเล่มนี้คือคู่มือการหว่านและฟูมฟักเมล็ดพันธุ์ของเด็กแห่งอนาคต ผ่านการอ่านออกเสียง ซึ่งเป็นของขวัญราคาย่อมเยาและง่ายดาย แต่มีคุณค่าที่สุดเท่าที่ผู้ใหญ่จะมอบให้เด็กๆ ได้
1. ทำไมต้องอ่านออกสียงให้เด็กฟัง
2. เมื่อไหร่ควรเริ่ม (และเลิก) อ่านออกเสียงให้เด็กฟัง
3. ลำดับขั้นของการอ่านออกเสียงให้เด็กฟัง
4. การอ่านตามลำพังและการอ่านเพื่อความบันเทิง
5. ความสำคัญของพ่อ
6. สถานการณ์ของสิ่งพิมพ์ที่บ้าน โรงเรียน และห้องสมุด
7. ผลกระทบของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่อการอ่านหนังสือ
8. ความเข้าใจด้านภาพและการอ่านออกเสียงให้เด็กฟัง
9. นัยสำคัญของประสบการณ์อ่านออกเสียง
10. สิ่งที่ "ควรทำ" และ "ไม่ควรทำ" ในการอ่านออกเสียงให้เด็กฟัง
- คลังหนังสือแนะนำสำหรับอ่านออกเสียง