รูปภาพสินค้า รหัส9786168221228
9786168221228
การปฏิรูปการศึกษาที่แท้ควรปฏิรูปกระบวนทัศน์ด้วย นั่นคือ "การบวนการเรียนรู้สำคัญกว่าความรู้" และ "ครูมิใช่ผู้มอบความรู้" แต่ "ครูเป็นผู้ออกแบบกระบวนการเรียนรู้ โดยเรียนรู้ไปพร้อมกับเด็กและเยาวชน"
ผู้เขียนJames Bellanca, ED. (เจมส์ เบลลันกา, บก.), Ron Brandt, ED. (รอน แบรนด์, บก.)
ผู้แปลอธิป จิตตฤกษ์, วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง

ส่วนลด 0 %
ราคาปก 425.00 บาท
ราคาสุทธิ 425.00 บาท
Bookmark and Share
รายละเอียดหนังสือ
รหัสสินค้า: 9786168221228
จำนวน: 496 หน้า
ขนาดรูปเล่ม: 143 x 210 x 23 มม.
น้ำหนัก: 550 กรัม
เนื้อในพิมพ์: ขาวดำ 
ชนิดปก: ปกอ่อน 
ชนิดกระดาษ: กระดาษถนอมสายตา 
หน่วย: เล่ม 
สำนักพิมพ์: บุ๊คสเคป, บจก. 
เดือนปีที่พิมพ์: 10 / 2554
พิมพ์ครั้งล่าสุด:ครั้งที่ 3 เดือน 8 ปี 2019
:: เนื้อหาโดยสังเขป
หนังสือที่จะพาคุณไปเรียนรู้สาระสำคัญยิ่งของการศึกษายุคใหม่ในศตวรรษที่ 21 ที่แตกต่างไปจากแนวคิดเดิมๆ โดยสิ้นเชิง!.. ทักษะใดบ้างจำเป็นต่อการเรียนรู้ในอนาคต? เราสามารถนำทักษะเหล่านี้ไปใช้ประยุกต์ได้อย่างไร? และต้องทำสิ่งใดเพื่อผลักดันให้โรงเรียนบรรจุทักษะเหล่านั้นในรายการสอน?.. ในยุคไร้พรมแดนมีผลกระทบต่อการศึกษาทั้งของไทยและของโลก การศึกษาของไทยจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนวิธีการเรียนการสอนให้แบบไม่ตกยุค นักการศึกษา ครู พ่อแม่ผู้ปกครอง นักเรียน และผู้สนใจคุณภาพของการศึกษาทุกคนควรได้อ่านหนังสือเล่มนี้ เพื่อจะได้ช่วยกันขับเคลื่อนการศึกษาไทยออกไปจากความเชื่อหรือวิถีคิดเก่าๆ เพื่อให้การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 บังเกิดผล
:: สารบัญ
1. จิตห้าลักษณะสำหรับอนาคต
2. นโยบายใหม่ที่สนองความต้องการในศตวรรษที่ 21
3. การเปรียบเทียบกรอบความคิดสำหรับทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
4. บทบาทของชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพต่อความก้าวหน้าของทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
5. วิสัยทัศน์ของสิงคโปร์ : สอนให้น้อยลง เรียนรู้ให้มากขึ้น
6. การออกแบบสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้แบบใหม่ เพื่อสนับสนุนทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
7. กรอบความคิดในการนำไปปฏิบัติ เพื่อสนับสนุนทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
8. การเรียนรู้จากปัญหา : รากฐานสำหรับทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
9. การเรียนรู้แบบร่วมมือและการแก้ไขความขัดแย้ง : ทักษะที่จำเป็นแห่งศตวรรษที่ 21
10. การเตรียมนักเรียนให้เชี่ยวชาญทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
ฯลฯ
:: คำนิยม
หนังสือเล่มนี้ได้ก่อผลกระทบต่อวงการศึกษาไทยอย่างกว้างขวาง โดยทำหน้าที่แจ้งเตือนสังคมไทย ให้เปลี่ยนโฉม (transform) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ของประเทศ ให้สอดคล้องต่อยุคสมัย จนเกิดพัฒนาการเชิงระบบและเชิงนโยบายต่อการศึกษาไทยมากมาย ถึงวันนี้เนื้อหาสาระในเล่มก็ยังคงสดใหม่อยู่ คือสื่อสารการเปลี่ยนแปลงแบบกลับจากหน้ามือเป็นหลังมือของการศึกษาในหลากหลายด้าน รวมทั้งสื่อสารเป้าหมายการเรียนรู้ที่ต้องครบด้าน (holistic) และเกิดการเรียนรู้ในระดับที่ลึกและเชื่อมโยง (higher order learning) ผมมีความใฝ่ฝันอยากเห็นคนในวงการศึกษาไทยใช้หนังสือเล่มนี้ ในการตั้งโจทย์ค้นหาวิธีประยุกต์หรือปฏิบัติในบริบทไทย เพื่อให้เยาวชนไทยได้พัฒนาทักษะต่าง ๆ และเติบโตเป็นพลเมืองไทยคุณภาพสูง ทำหน้าที่ร่วมกันพัฒนาบ้านเมืองให้มีความมั่งคั่ง เสมอภาค และสันติสุขอย่างยั่งยืนสืบต่อไป
-- ศาสตราจารย์ นพ.วิจารณ์ พานิช --

การศึกษาในศตวรรษที่ 21 คืออะไร มีหน้าตาอย่างไร และจะทำได้อย่างไร มีปรากฏในหนังสือเล่มนี้หมดแล้ว ผมเชื่อด้วยความบริสุทธิ์ใจเสมอมาและยังคงเชื่อต่อไปว่า หากมีครูสักคนที่อ่านเข้าใจ มีจินตนาการ และกล้าที่จะมีเสรีภาพในจิตใจของตนเอง ท่านสามารถเริ่มงานได้ด้วยตัวคนเดียว คือเริ่มต้น ลองผิดลองถูก แล้วประเมินตนเองร่วมกับนักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน ท่านเปลี่ยนเด็ก 20-30 คนรอบตัวได้แน่นอน ในเวลาไม่นานเกินรอด้วย เพราะมนุษย์ คือเด็ก ๆ รวมทั้งครูเอง มีศักยภาพสูงกว่าที่ตนเองรู้ตัวมากนัก แน่นอน หากมีเสรีภาพ...เราสามารถเปลี่ยนโรงเรียนทุกโรงเป็นโรงเรียนทางเลือกราคาถูกและให้การศึกษาฟรีได้ แค่ไม่ยอมทำเท่านั้นเอง
-- นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ --