ในแวดวงวิชาการ "ตุลาการศึกษา" ถือเป็นดินแดนลี้ลับอันศักดิ์สิทธิ์ สถาบันตุลาการมักถูกมองว่าเป็นกลาง อยู่ในโลกของตรรกะกฎหมาย และลอยพ้นจากสังคมอย่างสิ้นเชิง แต่นับวันมุมมองดังกล่าวดูจะอับจนในการอธิบาย "ความจริง" เกี่ยวกับการดำรงอยู่และปฏิบัติการของตุลาการในสังคมไทยมากขึ้น
หนังสือ "เมื่อตุลาการเป็นใหญ่ในแผ่นดิน" โดย "สมชาย ปรีชาศิลปกุล" คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พยายามเสนอแว่นตาใหม่และข้อถกเถียงใหม่ในการศึกษาสถาบันตุลาการ เมื่อสถาบันตุลาการไม่ใช่ Moral Being หรือองค์กรเทวดาที่บริสุทธิ์ผุดผ่อง ลอยอยู่เหนือประชาชน แต่เป็น Political Being ที่มีจุดยืนและผลประโยชน์ดังเช่นสามัญชนทั่วไป เมื่อสถาบันตุลาการกลายเป็น "ตุลาการพันลึก" ผู้ธำรงอำนาจนำดั้งเดิม เมื่อ "ตุลาการภิวัตน์" พร้อมแปรสภาพเป็น "ตุลาการวิบัติ" เมื่อสถาบันตุลาการรับใช้ระบอบอำนาจนิยมผ่านการรับรองความชอบธรรมให้แก่คณะรัฐประหาร และเมื่อสถาบันตุลาการขยายอำนาจสู่พื้นที่ทางการเมือง จนแปรสภาพเป็น "ตุลาการธิปไตย" ที่มีอำนาจเหนือสถาบันการเมืองจากการเลือกตั้ง
จาก "ตุลาการภิวัฒน์" ถึง "ตุลาการธิปไตย"
- ศาลและระบอบเผด็จการ
- ตุลาการธิปไตย
- กลับไปอ่าน "ตุลาการภิวัฒน์"
ฯลฯ
"กฎหมายไทย" ในโลกเหนือจริง
- ความจริงในกฎหมาย ความจริงในกฎหมาย
- "โง่-จน-เจ็บ" ในกระบวนการยุติธรรม
- มือปือป๊อปคอร์นไม่ได้หล่นมาจากฟ้า
ฯลฯ
"การเมืองไทย" ในโลกเหนือจริง
- การเมืองไทยในสถานการณ์ "ซากศพปกครองคนเป็น"
- "สันติวิธี" ที่สูญหาย
- ซากเดนของเผด็จการ
- "เหนือการเมือง" ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
คู่มืออ่าน "ตุลาการ"
- ตุลาการศึกษา
- ตุลาการพันลึก