รูปภาพสินค้า รหัส9786168221136
9786168221136
หนังสือเล่มนี้จะแสดงให้เห็นว่าโซเชียลมีเดียไม่ใช่เครื่องมือตายตัวที่อยู่ในกรอบของเทคโนโลยี แต่เป็นสิ่งที่พร้อมจะยืดหยุ่นได้ตามสังคมและวัฒนธรรมที่มันดำรงอยู่..
ผู้เขียนDaniel Miller, Elisabetta Costa, Nell Haynes, Tom McDonald, Razvan Nicolescu, Jolynna Sinanan, Juliano Spyer, Shriram Venkatraman , Xinyuan Wang
ผู้แปลฐณฐ จินดานนท์

ส่วนลด 0 %
ราคาปก 395.00 บาท
ราคาสุทธิ 395.00 บาท
Bookmark and Share
รายละเอียดหนังสือ
รหัสสินค้า: 9786168221136
จำนวน: 416 หน้า
ขนาดรูปเล่ม: 142 x 209 x 21 มม.
น้ำหนัก: 450 กรัม
เนื้อในพิมพ์: ขาวดำ 
ชนิดปก: ปกอ่อน 
ชนิดกระดาษ: กระดาษถนอมสายตา 
หน่วย: เล่ม 
สำนักพิมพ์: บุ๊คสเคป, บจก. 
:: เนื้อหาโดยสังเขป
ส่องวัฒนธรรมโซเชียลมีเดียทั่วโลกผ่านแว่นตาของมานุษยวิทยา ที่จะเปลี่ยนมุมมองที่คุณมีต่อโลกออนไลน์ไปจากเดิม! อะไรคือเหตุผลเบื้องหลังการโพสต์ภาพ "สวัสดีวันจันทร์" ของชาวอินเดีย? ทำไมชาวจีนบางคนจึงไม่กังวลกับการเซ็นเซอร์โซเชียลมีเดียของรัฐ? เหตุใดคนในตรินิแดดจึงโพสต์เพื่ออวดสถานะชั้นสูง แต่คนชิลีกลับพยายามโพสต์อวดความจน? ความเท่าเทียมบนโลกออนไลน์จะเปลี่ยนแปลงความเหลื่อมล้ำในโลกออฟไลน์ได้หรือไม่?

"Why We Post : ส่องวัฒนธรรมโซเซียลมีเดียผ่านมานุษยวิทยาดิจิทัล" คือผลงานของคณะนักวิจัยจาก University College London ที่ถ่ายทอดประสบการณ์การลงพื้นที่ศึกษา 9 แห่งทั่วโลก เพื่อสำรวจการใช้โซเชียลมีเดียผ่านแว่นตาของมานุษยวิทยา และหาคำตอบว่า บริบทต่างๆ ในชีวิต เช่น งาน การศึกษา ความสุข ความสัมพันธ์ ไปจนถึงประเด็นที่ลึกซึ้งอย่างเรื่องการเมืองหรือความเหลื่อมล้ำ ส่งผลกระทบต่อสิ่งที่เรา "โพสต์" อย่างไรบ้าง หนังสือเล่มนี้จะแสดงให้เห็นว่า โซเชียลมีเดียไม่ใช่เครื่องมือตายตัวที่อยู่ในกรอบของเทคโนโลยี แต่เป็นสิ่งที่พร้อมจะยืดหยุ่นได้ตามสังคมและวัฒนธรรมที่มันดำรงอยู่ เพราะถึงที่สุดแล้ว ใช่เพียงโซเชียลมีเดียฝ่ายเดียวที่เปลี่ยนโลก แต่โลกเองก็เปลี่ยนโซเชียลมีเดียไปในแบบที่เราอาจคาดไม่ถึงเช่นกัน
:: สารบัญ
1. โซเชียลมีเดียคืออะไร
2. การศึกษาโซเชียลมีเดียเชิงวิชาการ
3. วิธีและแนวทางการศึกษาของเรา
4. ผลการสำรวจของเรา
5. การศึกษาและคนหนุ่มสาว
6. การงานและการค้า
7. ความสัมพันธ์ในโลกออนไลน์และออฟไลน์
8. เพศสภาพ
9. ความเหลื่อมล้ำ
10. การเมือง
11. ภาพ
12. ปัจเจกนิยม
13. โซเชียลมีเดียทำให้คนมีความสุขขึ้นไหม
14. อนาคต