"ทฤษฎีวรรณคดี: ความรู้ฉบับพกพา" จะพาผู้อ่านดำดิ่งลงสู่โลกแห่งวรรณคดีอันลึกล้ำ นับตั้งแต่องค์ประกอบอันเป็นรากฐานของวรรณคดีอย่างแง่มุมทางภาษา ความหมาย การตีความ หรือกลวิธีทางวาทศิลป์ ก่อนจะขยายปริมณฑลไปสู่สำนักความคิดและศาสตร์แขนงต่างๆ ที่แทรกซึมอยู่ในงานวรรณคดี ไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรมศึกษา มาร์กซิสม์ จิตวิเคราะห์ เพศวิภาษ หรือสุนทรียศาสตร์ ผ่านสายตาของนักทฤษฎีเลื่องชื่ออย่างฌาคส์ ลาก็อง, มิเชล ฟูโกต์ หรือฌาคส์ แดร์ริดา
หนังสือเล่มนี้จะชวนผู้อ่านขบคิดหาคำตอบของประเด็นคำถามคลาสสิกที่ไม่เคยเลือนหายจากแวดวงวรรณคดีศึกษา เช่น ทฤษฎีคืออะไร? งานแบบไหนจึงเข้าข่ายวรรณคดี? ความหมายของตัวบทกำหนดโดยผู้เขียนหรือผู้อ่านกันแน่? นอกจากนี้ยังต่อยอดความคิดไปสู่คำถามที่เชื่อมโยงกับประเด็นแห่งยุคสมัย เช่น วรรณคดีในโลก "หลังมนุษย์" บทบาทของวรรณคดีในวัฒนธรรมอิเล็กทรอนิกส์ หรืออวสานของทฤษฎีในศตวรรษที่ 21
นี่คือหนังสือที่ทั้งไขความกระจ่าง ท้าทายสมมติฐาน และชวนให้ตั้งคำถามขบคิดไม่รู้จบ เป็นคู่มือฉบับพกพาที่เหมาะสำหรับนักศึกษา ผู้สนใจวรรณคดีวิจารณ์ และนักอ่านทั่วไปผู้หลงใหลในเสน่ห์อันไร้ที่สิ้นสุดของวรรณคดี
1. ทฤษฎีคืออะไร
2. วรรณคดีคืออะไรและสำคัญไฉน
3. วรรณคดีและวัฒนธรรมศึกษา
4. ภาษา ความหมาย และการตีความ
5. วาทศิลป์ ประพันธศิลป์ และกวีนิพนธ์
6. เรื่องเล่า
7. ภาษาแสดงการกระทำ
8. อัตลักษณ์ การสร้างอัตลักษณ์ และองค์ประธาน
9. จริยศาสตร์และสุนทรียศาสตร์